พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕
พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์
[๒๕๖] ในปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน
ความไม่รู้ทุกข์ ความไม่รู้ทุกขสมุทัย
ความไม่รู้ทุกขนิโรธ ความไม่รู้
ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้เรียกว่า
อวิชชา
๒๕๗] สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เป็นไฉน
ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร
อาเนญชาภิสังขาร กายสังขาร
วจีสังขาร จิตตสังขาร
ในสังขารเหล่านั้น
ปุญญาภิสังขาร เป็นไฉน
กุศลเจตนา เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร
ที่สำเร็จด้วยทาน ที่สำเร็จ-
*ด้วยศีล ที่สำเร็จด้วยภาวนา
นี้เรียกว่า ปุญญาภิสังขาร
อปุญญาภิสังขาร เป็นไฉน
อกุศลเจตนาเป็นกามาวจร นี้เรียกว่า
อปุญญาภิสังขาร
อาเนญชาภิสังขาร เป็นไฉน
กุศลเจตนาเป็นอรูปาวจร นี้เรียกว่า
อาเนญชาภิสังขาร
กายสังขาร เป็นไฉน
กายสัญเจตนา เป็นกายสังขาร
วจีสัญเจตนา เป็นวจีสังขาร มโนสัญ-
*เจตนา เป็นจิตตสังขารเหล่านี้เรียกว่า
สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย
๒๕๘] วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย เป็นไฉน
จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ
ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ นี้เรียกว่า
วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย
[๒๕๙] นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
เป็นไฉน
นาม ๑ รูป ๑
ในนามและรูปนั้น นาม
เป็นไฉน
เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ
นี้เรียกว่า นาม
รูป เป็นไฉน
มหาภูตรูป ๔
และอุปาทายรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่า รูป
นามและรูปดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า
นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย
[๒๖๐] สฬายตนะเกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย เป็นไฉน
จักขายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ
ชิวหายตนะ กายายตนะ มนาย-
*ตนะ นี้เรียกว่า
สฬายตนะเกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย
[๒๖๑] ผัสสะเกิดเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย เป็นไฉน
จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส
ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโน-
*สัมผัส นี้เรียกว่า
ผัสสะเกิดเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย
[๒๖๒] เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย เป็นไฉน
จักขุสัมผัสสชาเวทนา
โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา
ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา
กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา นี้เรียกว่า เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย
[๒๖๓] ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย เป็นไฉน
รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา
โผฏฐัพพตัณหา
ธัมม-*ตัณหา นี้เรียกว่า
ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย
[๒๖๔] อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย เป็นไฉน
กามุปาทาน ทิฏฐปาทาน สีลัพพตุปาทาน
อัตตวาทุปาทาน นี้เรียกว่า
อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย
[๒๖๕] ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย เป็นไฉน
ภพ ๒ คือ กรรมภพ ๑ อุปปัตติภพ ๑
ในภพ ๒ นั้น กรรมภพ เป็นไฉน
ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร
อาเนญชาภิสังขาร นี้เรียกว่า
กรรมภพ
กรรมที่เป็นเหตุให้ไปสู่ภพแม้ทั้งหมด
ก็เรียกว่า กรรมภพ
อุปปัตติภพ เป็นไฉน
กามภพ รูปภพ อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ
เนวสัญญา-*นาสัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ นี้เรียกว่า อุปปัตติภพกรรมภพและอุปปัตติภพดังกล่าวมานี้
นี้เรียกว่า ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย
[๒๖๖] ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย เป็นไฉน
ความเกิด ความเกิดพร้อม ความหยั่งลง
ความเกิดจำเพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะ ในหมู่สัตว์นั้นๆ
ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันใดนี้เรียกว่า ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย
[๒๖๗] ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย เป็นไฉน
ชรา ๑ มรณะ ๑
ในชราและมรณะนั้น ชรา
เป็นไฉน
ความคร่ำคร่า ภาวะที่คร่ำคร่า
ความที่ฟันหลุด ความที่ผมหงอก ความ-*ที่หนังเหี่ยวย่น ความเสื่อมสิ้นอายุ
ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันใด นี้เรียกว่า
ชรา
มรณะ เป็นไฉน
ความเคลื่อน ภาวะที่เคลื่อน ความทำลาย
ความหายไป มฤตยู ความ-
*ตาย ความทำกาละ ความแตกแห่งขันธ์
ความทิ้งซากศพไว้ ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ
อันใด นี้เรียกว่า มรณะชราและมรณะดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า
ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย
[๒๖๘] โสกะ เป็นไฉน
ความโศกเศร้า กิริยาโศกเศร้า
สภาพโศกเศร้า ความแห้งผากภายใน
ความแห้งกรอบภายใน ความเกรียมใจ
ความโทมนัส ลูกศรคือความโศกเศร้าของผู้ที่ถูกความเสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์
ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรคความเสื่อมศีล หรือความเสื่อมทิฏฐิ กระทบแล้ว ของผู้ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง
ของผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว นี้เรียกว่า โสกะ
[๒๖๙] ปริเทวะ เป็นไฉน
ความร้องไห้ ความคร่ำครวญ
กิริยาร้องไห้ กิริยาคร่ำครวญ สภาพร้อง-*ไห้ สภาพคร่ำครวญ ความบ่นถึง ความพร่ำเพ้อ
ความร่ำไห้ ความพิไรร่ำกิริยาพิไรร่ำ สภาพพิไรร่ำ ของผู้ที่ถูกความเสื่อมญาติ
ความเสื่อมโภคทรัพย์ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรค ความเสื่อมศีล หรือความเสื่อมทิฏฐิ
กระทบแล้ว ของผู้ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง
ของผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่าง-*หนึ่งกระทบแล้ว นี้เรียกว่า ปริเทวะ
[๒๗๐] ทุกข์ เป็นไฉน
ความไม่สบายกาย ความทุกข์กาย
ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบาย เป็น
ทุกข์อันเกิดแต่กายสัมผัส
กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่กายสัมผัส อันใด นี้เรียกว่า ทุกข์
[๒๗๑] โทมนัส เป็นไฉน
ความไม่สบายใจ ความทุกข์ใจ
ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์
อันเกิดแต่เจโตสัมผัส
กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัสอันใด นี้เรียกว่า โทมนัส
[๒๗๒] อุปายาส เป็นไฉน
ความแค้น ความขุ่นแค้น สภาพแค้น
สภาพขุ่นแค้น ของผู้ที่ถูกความ
เสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์
ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรค ความเสื่อมศีล
หรือความเสื่อมทิฏฐิ กระทบแล้ว ของผู้ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่งของผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว
นี้เรียกว่า อุปายาส
[๒๗๓] คำว่า ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการ
อย่างนี้นั้น ได้แก่ความไปร่วม
ความมาร่วม ความประชุม ความปรากฏแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้
ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่าความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้
ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้
สุตตันตภาชนีย์
จบ
เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๕
บรรทัดที่ ๓๗๔๖ - ๓๘๔๕. หน้าที่ ๑๖๑ - ๑๖๕.
No comments:
Post a Comment