Saturday, September 10, 2022

อานาปานสติ (พิจารณาเห็นธรรมในธรรม)

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุ
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจออก
ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจออก
ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจออก
ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจออก
ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจเข้า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ เธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัส
ด้วยปัญญาแล้ว ย่อมเป็นผู้วางเฉยได้ดี เพราะฉะนั้นแล
ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า
พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญ อานาปานสติ แล้วอย่างนี้
ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ฯ
!!!........!!!
ที่มา..อานาปานสติสูตร : พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ bit.ly/3cXHBne
.....

อานาปานสติ (พิจารณาเห็นจิตในจิต)

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุ
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนด รู้จิต หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจออก ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า
ดูกรภิกษุทั้งหลายในสมัยนั้น 
ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าว อานาปานสติแก่ภิกษุผู้เผลอสติ ไม่รู้สึกตัวอยู่ เพราะฉะนั้นแล
ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ
กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ
!!!........!!!
ที่มา..อานาปานสติสูตร : พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ bit.ly/3cXHBne
.....

อานาปานสติ (พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา)

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุ
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ ปีติ หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจออก
ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการใส่ใจ ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า เป็นอย่างดีนี้
ว่าเป็น เวทนาชนิดหนึ่ง ในพวกเวทนา เพราะฉะนั้นแล
ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ 
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ
!!!…………!!!.
ที่มา..อานาปานสติสูตร : พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ bit.ly/3cXHBne
.....

อานาปานสติ (พิจารณาเห็นกายในกาย)

[๒๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ 
ที่เป็นผู้ประกอบ ความเพียรในอันเจริญ อานาปานสติ อยู่ ฯ 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว

ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ภิกษุที่เจริญ อานาปานสติ แล้วทำให้มากแล้ว 

ย่อมบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้

ภิกษุที่เจริญ สติปัฏฐาน ๔ แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญ โพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้ 

ภิกษุที่เจริญ โพชฌงค์ ๗ แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญ วิชชาและวิมุตติ ให้บริบูรณ์ได้ ฯ

!!!.......!!!

             [๒๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร

ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มี อานิสงส์มาก 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี 

นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า เธอย่อม 

-มีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า-

เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือ เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว 

เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือ เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น 

สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็น ผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก 

ว่าเราจักเป็น ผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า 

สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า

สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า 

สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า 

สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจออก 

ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจเข้า 

สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า 

สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจเข้า

สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจเข้า 

สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า

สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจออก ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า

สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจออก 

ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้า 

สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจออก 

ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจเข้า 

สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจออก

ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจเข้า 

สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจออก 

ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจเข้า 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว

อย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ฯ

!!!……..!!!

             [๒๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุที่เจริญ อานาปานสติ แล้วอย่างไร

ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญ สติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ 

!!!........!!!

ดูกรภิกษุทั้งหลายสมัยใด 

เมื่อภิกษุ หายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อ หายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว 

เมื่อ หายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือเมื่อ หายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น 

สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก 

ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า 

สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นกายในกาย

มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย 

เรากล่าว ลมหายใจออก ลมหายใจเข้านี้ ว่าเป็นกายชนิดหนึ่งในพวกกาย เพราะฉะนั้นแล 

ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นกายในกาย มี ความเพียร รู้สึกตัว มีสติ 

กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ

!!!……….!!!

ที่มา..อานาปานสติสูตร : พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ bit.ly/3cXHBne
.....