Friday, November 1, 2013

ถาม-ตอบ ....แนวการปฏิบัติธรรม

     

๑๒. ปุจฉา -  ถ้าอย่างนั้นสุขและทุกข์ล้วนไม่เอา  ไม่เฉยๆเป็นท่อนไม้เป็นหุ่นยนต์หรือแข็งทื่อไปหรือ  หลีกเลี่ยงเสียทุกอย่าง  เอาแต่สุข ไม่เอาทุกข์ไม่ได้หรือ?
         วิสัชนา - ไม่ใช่อย่างนั้น   ไม่ใช่อย่างนั้น   แต่หมายความว่าทั้งสุขและทุกข์และยังรวมถึงอทุกขมสุข  ก็ยังคงมี คงเป็นเช่นนั้นตามธรรมของเขา  แต่ต่างล้วนไม่ติดเพลินหรือยึดมั่น  ดังเช่น  อาหารอันอร่อยหรือไม่อร่อยก็ตามที  เป็นไปตามธรรมหรือธรรมชาติของอาหารนั้นๆอันพร้อมด้วยสัญญาความจำได้นั่นเอง   อร่อยก็กินและรู้ถึงความเอร็ดอร่อยนั้นเป็นธรรมดาแต่ไม่ติดเพลิน(นันทิ)ด้วยสติและปัญญา   ส่วนที่ไม่อร่อยก็กินและย่อมรับรู้รสถึงความไม่อร่อยเหล่านั้นเป็นธรรมดา แต่ไม่ผลักไสปรุงแต่งหงุดหงิดด้วยติดเพลินคำนึงถึงรสชาดความเอร็ดอร่อย    จึงเป็นไปดังเช่นเดียวกับฌาน,สมาธิที่เป็นเครื่องอยู่ของพระอริยะเจ้าที่ไม่ยังโทษใดๆเป็นวิหารธรรมเครื่องอยู่อันเป็นสุขยิ่งเมื่อต้องการใช้ เพราะไม่ได้เกิดแต่การติดเพลิน  ทั้งๆที่ท่านมีอยู่เป็นธรรมดาจากการปฏิบัติ   ส่วนปุถุชนนั้นเมื่อมีฌานสมาธิเกิดขึ้นก็ไปติดเพลินหรือเพลิดเพลินในรูปแบบต่างๆนาๆอันสลับซับซ้อนด้วยอวิชชา  จนก่อทุกข์โทษภัยขึ้นมาโดยไม่รู้ตัวว่าเกิดแต่นันทิ
          ย่อมเป็นที่ใฝ่ฝันของปุถุชนทุกคนเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะผู้เขียนเองแต่อดีต  อยากมีแต่สุข ไม่เอาทุกข์  จึงเกิดการพยายามยึดสุข และผลักไสทุกข์  คิดว่าดีที่สุดและถูกต้องเนื่องแต่อวิชชาจึงไม่รู้  เพราะดูเผินๆแล้วก็น่าจะเป็นได้  แต่ตามความเป็นจริงแล้ว สุขทางโลกหรือโลกิยสุขนั้น ไม่เที่ยง คงทนอยู่ไม่ได้ จึงเป็นทุกข์ในที่สุด เป็นอนัตตาที่ไม่มีแก่นแกนแท้จริง  ดังนั้นเมื่อสั่งสมหรือยึดในสุขโดยไม่รู้ตัว  จิตก็ย่อมสั่งสมความต้องการความอยากหรือเพิ่มความแก่กล้าของกิเลสขึ้นเรื่อยๆ ตามกระบวนจิตที่ได้สั่งสมปรุงแต่งแก่กล้าขึ้นเรื่อยๆโดยไม่รู้ตัว จนย่อมเกิดสภาวะไม่สมหวังอันเป็นทุกข์ขึ้นในที่สุด  เพราะสุขทางโลกที่เกิดขึ้นเหล่านั้น จะล้วนเก็บจำเป็นอาสวะกิเลสในรูปปริเทวะ กล่าวคือ โดยอาการพิรี้พิไร อาลัย รำลึก คิดถึงจนกำเริบเสิบสานขึ้นเป็นอุปาทานทุกข์นั่นเอง

ถาม-ตอบ...แนวการปฏิบัติธรรม



๒. ปุจฉา - แล้วควรจะทำอย่างไร?  จึงจะหยุดคิดปรุงแต่งที่เป็นทุกข์เร่าร้อนเผาลนอยู่นี้ได้  มันไม่ยอมหยุดคิดหยุดนึกเลย  คอยแต่ผุดคิดผุดนึกขึ้นมาอยู่เสมอๆ
        วิสัชนา - อาการไม่สามารถหยุดคิดหยุดนึกปรุงแต่ง หรือฟุ้งซ่านไปปรุงแต่งอยู่ตลอดเวลานี้  มักเป็นอาการที่เกิดขึ้นเมื่อจิตดำเนินอยู่ในองค์ธรรมชรา จึงหมายถึงการถูกครอบงำหรือประกอบด้วยอุปาทานอันแรงกล้าเสียแล้ว กล่าวคือขันธ์ทุกขันธ์ที่เกิดขึ้นล้วนแฝงความว่าเป็นตัวตนหรือเป็นเรื่องราวของตัวของตนอย่างยึดมั่น   เมื่อเป็นไปดังนี้แล้ว เมื่อสติระลึกรู้ขึ้นมา และเข้าใจแล้วว่ารู้ตามดังข้างต้นแล้ว  มีความรู้สึกหรือเวทนาอย่างหนึ่งอย่างใดก็ตามย่อมเข้าใจว่าเป็นไปดังนั้นตามธรรม แล้วให้ละตัณหานั้นเสียก่อน แล้วให้ถือ อุเบกขา ในโพชฌงค์ ๗ (ห้ามท้อแท้ ด้วยคิดเสียว่าฝึกสั่งสมการละตัณหา และอุเบกขา ที่เป็นองค์สำคัญยิ่งในการปฏิบัติ) กล่าวคือ เป็นกลาง วางทีเฉย ด้วยการไม่โอนเอียงแทรกแซงด้วยถ้อยคิดหรือกริยาจิตใดๆในเรื่องนั้นๆ  (ไม่ใช่การหยุดคิดหยุดนึกทั้งปวง) ปล่อยวาง ด้วยการไม่ไปคิดนึกแทรกแซงว่าดีหรือชั่ว  ไม่แทรกแซงว่าถูกหรือผิด  ไม่แทรกแซงว่าเราดีเขาชั่ว  ไม่แทรกแซงว่าเราถูกเขาผิด  ไม่แทรกแซงว่าบุญบาป  ไม่แทรกแซงว่าอดีตอนาคต  ไม่แทรกแซงว่าสุขหรือทุกข์  เพราะล้วนเป็นกริยาจิตที่หลอกล่อให้ไปปรุงแต่งจนเป็นทุกข์เนื่องต่อสัมพันธ์ไป   ดังนั้นผู้มีปัญญาจากการรู้เข้าใจปฏิจจสมุปบาทหรือขันธ์ ๕  ก็จะมีพลังปัญญาหรือพลังจิตที่จะละตัณหา แล้วอุเบกขาได้อย่างมั่นคงกว่า เมื่อมีสติระลึกรู้เท่าทันขึ้นมา อันเนื่องจากการรู้เข้าใจเหตุปัจจัยด้วยตนเองอย่างแจ่มแจ้ง   ส่วนผู้ที่ไม่มีปัญญาจากความเข้าใจในธรรม  ก็จะไปหาเหตุผลต่างๆนาๆ  และย่อมไม่เห็นเหตุปัจจัยอย่างปรมัตถ์  จึงกลายเป็นการดิ้นรนอย่างถูกหลอกล่อให้ไปปรุงแต่งเพื่อหาทางแก้ไขหรือปฏิบัติแบบต่างๆนาๆ ที่กลับกลายเป็นมารยาจิตที่หลอกล่อให้ปรุงแต่งหรือฟุ้งซ่านออกไปปรุงแต่งจนเป็นทุกข์ต่อเนื่องไปอยู่ตลอดเวลา  จึงดับทุกข์เหล่านั้นไม่ได้  จึงวนเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในกองทุกข์อยู่เยี่ยงนั้น อย่างยาวนานด้วยอวิชชา
        การอุเบกขา ก็คือ รู้ตามความเป็นจริง แล้วไม่ไปยึดมั่นถือมั่นนั่นเอง  หรือก็คือ การปฏิบัติดังนี้ต่อเวทนา กล่าวคือ เมื่อเกิดสุขเวทนาก็ไม่ติดเพลิน ไม่บ่นถึง ก็คือละตัณหา แล้วไม่ปรุงแต่งหรือการไม่คิดปรุงแต่งหรืออุเบกขานั่นเอง,   เมื่อเกิดทุกขเวทนาก็ไม่พิรี้พิไร ไม่รำพัน ไม่โอดครวญ ก็มีความหมายเดียวกันคืออาการละวิภวตัณหา แล้วไม่ปรุงแต่งหรือไม่คิดปรุงแต่งหรืออุเบกขานั่นเอง   ถ้าเป็นอทุกขมสุขก็เพียงรู้เท่าทันและไม่ปรุงแต่งให้เกิดทุกข์หรืออุเบกขาเช่นกัน
        ดังนั้นความหมายหรือลักษณาการของการอุเบกขาเหล่านี้ จึงเหมือนกัน  แตกต่างแต่การสื่อออกมาเป็นภาษาทางโลก หรือมุมมองในการพิจารณาตามธรรมแบบต่างๆเท่านั้นเอง เช่น ไม่ยึดมั่นหมายมั่น,  ปล่อยวาง,  อุเบกขา,  ไม่ปรุงแต่ง,  ไม่คิดนึกปรุงแต่ง,  ไม่ยินดียินร้าย,  ไม่ฟุ้งซ่านออกไปภายนอก ฯ.
        การปฏิบัติดังนี้ คือ ละตัณหาเสียก่อน แล้วอุเบกขา จึงเป็นการดับอุปาทานทุกข์ที่เร่าร้อนเผาลนอย่างถูกต้อง  หรือการดับด้วยการเกิดนิพพิทาจากการรู้เห็นเป็นไปตามความเป็นจริง เช่น ระลึกรู้เข้าใจในไตรลักษณ์ แล้วอุเบกขา   การดับด้วยวิธีอื่นๆล้วนเป็นการดับอย่างชั่วคราวหรือกล่าวได้ว่ายังไม่ถูกต้องดีงาม เช่น อาจด้วยกำลังขององค์ฌานกดข่ม กล่าวคือจิตมีฌานสมาธิเป็นเอกจึงไร้นิวรณ์ ๕ จึงไม่สนใจในทุกข์ อันเป็นไปได้เป็นครั้งคราวเท่านั้น ไม่เที่ยง คงทนอยู่ไม่ได้   หรือจากการเบี่ยงเบนบดบังด้วยอริยบถอันเป็นไปตามธรรมชาติ  หรือเป็นไปตามพระไตรลักษณ์คือคงทนอยู่ไม่ได้จึงดับไปเอง   จึงล้วนไม่ได้เกิดแต่ สติ สมาธิ ปัญญาจากการปฏิบัติอย่างถูกต้องอันเมื่อปฏิบัติบ่อยๆครั้งย่อมสั่งสมเป็นสังขารอันดีงามหรือมหาสติในที่สุด
        อีกลักษณาการหนึ่งที่ทำให้ไม่สามารถหยุดการคิดปรุงแต่งได้ คือ การเป็นมิจฉาฌาน,มิจฉาสมาธิ  คือ ปฏิบัติสมถสมาธิหรือฌานอย่างไม่ถูกต้องมาก่อน  ที่เคยมีอาการติดเพลินเพื่อเสพรสของความสุข,ความสบาย,และความสงบ อันเกิดขึ้นแต่อำนาจขององค์ฌาน,สมาธิโดยไม่รู้ตัวสักนิดในอดีต  มักเนื่องจากไม่ได้นำผลอันเกิดขึ้นจากฌานสมาธิเหล่านั้นไปใช้เพื่อประโยชน์ในการวิปัสสนาหรือธรรมวิจยะอย่างจริงจัง    จิตจึงมีสังขารที่สั่งสมไว้หรือความเคยชินในลักษณะชอบเกาะติดแน่นหรือแน่วแน่กับสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นสันดานอันเนื่องจากการสั่งสมในขั้นต้นในอดีตอย่างผิดๆโดยไม่รู้ตัวเพราะขาดการวิปัสสนา จนจิตมีความชำนาญอย่างยิ่งยวดในการเกาะยึดติดสิ่งต่างๆตลอดจนองค์ฌานต่างๆหรือความสุข,สงบ,สบายในสมาธิ กล่าวคือ เมื่อไม่ยึดเกาะหรือกำหนดในสิ่งใดแล้วมีความรู้สึกเคว้งคว้าง ไม่รู้จะให้จิตไปอยู่ที่ไหน  ดังนั้นเมื่อจิตหวั่นไหวเลื่อนไหลหลุดจากองค์ฌานหรือสมาธิด้วยเหตุอันใดก็ดี   จิตจึงมักหันมายึดเกาะเวทนาหรือความทุกข์หรือความคิดเป็นทุกข์เหล่านั้นที่จรเข้ามากระทบแทนอย่างเหนียวแน่น ไม่ยอมปล่อยคลายด้วยอำนาจของความเคยชินที่สั่งสมโดยไม่รู้ตัว  เป็นไปในลักษณะอุปัฏฐานะในวิปัสสนูปกิเลส (วิธีแก้ไขอ่านจิตส่งในติดสุข)
         ตลอดจนอาจเกิดแต่ตัณหา,อุปาทานอันเร่าร้อนรุนแรงหรือสั่งสมในเรื่องนั้นๆมานาน(อาสวะกิเลส)  จึงมีสภาพดุจดั่งฟืนที่เคยไฟมาแล้ว ที่ย่อมลุกติดไฟ(ของตัณหาอุปาทาน)ได้อย่างง่ายๆรวดเร็วและร้อนแรงกว่าฟืนธรรมดา  เมื่อเกิดขึ้นแล้วจึงดำเนินและเป็นไปอย่างรวดเร็วจนถึงเวทนูปาทานขันธ์หรือสังขารูปาทานขันธ์ในชรา จนสติตามไม่เท่าทันเวทนาหรือจิตก่อนถูกครอบงำด้วยตัณหาอุปาทาน   จึงอาจต้องพิจารณาดับตัณหาอุปาทานนั้นๆตรงๆเช่นกัน เช่นพิจารณาธรรมให้เกิดนิพพิทา   พึงระวังพิจารณาในวิภวตัณหาด้วย คือในความไม่อยากให้มี ไม่อยากให้เกิด ไม่อยากให้เป็นไป  โดยใช้ปัญญาพิจารณาโทษหรือทุกข์นั้นตรงๆเลย  หรือหันหน้าสู้  ให้เห็นคุณเห็นโทษตามความเป็นจริงอย่างแจ่มแจ้งอย่างน้อมเกิดนิพพิทา   และข้อสำคัญยอมรับตามความเป็นจริง  เหมือนดั่งการน้อมยอมรับในเวทนา เพราะปัญญาความเข้าใจในเวทนา ที่เมื่อมีการผัสสะขึ้นย่อมต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดา เป็นสุขบ้าง เป็นทุกข์บ้าง เป็นอทุกขมสุขบ้าง เป็นทุกข์ธรรมชาติ อันเป็นไปตามธรรมหรือเหตุที่มาผัสสะ
         หรือไปอยู่กับการบริกรรม เช่นพุทโธ แบบมีสติ  หมายความว่าทำในขณะใดก็ได้อย่างมีสติ อย่างต่อเนื่องที่เป็นสัมมาสมาธิในการวิปัสสนา   ไม่ได้ต้องการให้เกิดสมถสมาธิ,หรือฌานแต่ประการใด   แต่ต้องการให้เป็นเครื่องอยู่ของจิต  คือให้จิตมีที่ยึดอย่างมีสติ ไม่ส่งส่ายออกไปปรุงแต่งให้เกิดทุกข์  การบริกรรมนี้จึงต้องเป็นไปอย่างมีสติ  ไม่ต้องการให้เลื่อนไหลไปเป็นสมถสมาธิหรือฌานที่ให้แต่ความสงบสบายแต่อย่างใด   พุทก็รู้ว่าพุท  โธก็รู้ว่าโธ  คือ พุท ขึ้นในใจก็ให้รู้ว่าพุท   โธ ขึ้นในใจก็ให้รู้ว่าโธ  อย่างมีสติ   อาจเว้นจังหวะถี่ ยาว สั้น ตามสะดวกไม่ต้องสมํ่าเสมอก็ดี จะได้ไม่เลื่อนไหลเพราะคล่องปากคล่องใจไปสู่สมาธิระดับประณีต   ขอให้มีสติเมื่อพุท เมื่อโธก็แล้วกัน  การบริกรรมอย่างมีสติไม่เลื่อนไหลนี้ถ้าพิจารณาโยนิโสมนสิการแล้ว ก็เป็นการเจริญจิตตานุปัสสนาอย่างหนึ่ง  คือการมีสติระลึกรู้เท่าทันจิต(จิตสังขาร)  พุทโธนั้นเป็นจิตสังขารอย่างหนึ่งที่เราสังขารหรือปรุงขึ้นนั่นเอง
        ถ้ายังไม่สามารถดับทุกข์ที่กำลังเร่าร้อนเผาลนในชราลงไปได้อีก  ก็ให้ใช้วิธีปฏิบัติดังใน ภิกขุณีสูตร อันเป็นการใช้ทั้งสติ สมาธิในการดับทุกข์ที่กำลังเผาลนจนร้อนรุ่ม  หรือใช้การเจริญโพชฌงค์ ๗ เฉพาะกาล เป็นเครื่องปฏิบัติ
อ่านบทความเพีมเติมได้ที่........http://www.nkgen.com/757.htm#รวม

Thursday, October 31, 2013

อวิชชา ๘ ความไม่รู้และไม่ปฏิบัติ ตามความเป็นจริงแห่งธรรม

        ๑. ความไม่รู้ใน"ทุกข์"  ที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนให้ รู้ และให้ดับสนิทนั้น หมายถึงทุกข์อุปาทานหรือการเกิดอุปาทานขันธ์ ๕, และรู้เท่าทันทุกข์อุปาทานที่เกิดนั้น,  ตลอดจนไม่เข้าใจเวทนา จึงไม่ยอมรับทุกขเวทนา-ความรู้สึกรับรู้ที่เกิดขึ้นชนิดไม่ถูกใจไม่สบายใจหรือไม่ชอบใจอันเป็นสภาวธรรมชาติของชีวิตอย่างหนึ่งที่ย่อมต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดา   จึงเกิดการสับสนไม่เข้าใจ  การปฏิบัติจึงไม่ถูกเป้าหมายที่ถูกต้อง  อันย่อมทำให้การดับไปแห่งทุกข์ไม่สัมฤทธิ์ผล ดังเช่น ต้องปฏิบัติเพื่อดับอุปาทานขันธ์ ๕ อันเป็นอุปาทานทุกข์อย่างแท้จริงที่สามารถดับลงไปได้  แต่ด้วยอวิชชาจึงไม่รู้ จึงกลับไปพยายามปฏิบัติในแนวทางที่จะดับทุกขเวทนาอันเป็นสภาวธรรมชาติอย่างหนึ่งของชีวิตหรือขันธ์หนึ่งของชีวิต ที่อย่างไรเสีย ก็ต้องมีอยู่
        ๒. ความไม่รู้ใน"สมุทัย"  เหตุหรือปัจจัยให้เกิดทุกข์คือตัณหา อันมี ๓  กามตัณหา-ความอยากในกามหรือในทางโลกๆ(เช่นใน รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส), ภวตัณหา-ความอยากในธรรมารมณ์(สิ่งที่สัมผัสหรือรับรู้ได้ด้วยใจ), ตลอดจนวิภวตัณหา-ความไม่อยากในธรรมารมณ์,หรือความอยากในความไม่อยาก หรือความอยากดับสูญ  อันล้วนเป็นเหตุปัจจัยโดยตรงให้เกิดอุปาทาน อันเป็นเหตุปัจจัยต่อเนื่องให้เกิดทุกข์อุปาทานขึ้นในที่สุด   เมื่อไม่รู้ ไม่เข้าใจจริงๆ จึงไม่ระมัดระวังจึงสร้างตัณหาความทะยานอยาก  หรือความไม่อยากแอบแฝงขึ้น  จึงเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดอุปาทานขึ้น
        ๓. ความไม่รู้ใน "นิโรธ"  ความสุขจากการหลุดพ้น  ว่าเป็นเช่นใด?  ไม่เคยสัมผัส หรือไม่เข้าใจสภาวะนิโรธอันว่างจากกิเลส ตัณหา อุปาทาน ที่ล้วนเป็นเหตุปัจจัยที่ต่อเนื่องสัมพันธ์กัน อันยังผลให้เกิดอุปาทานทุกข์อันรุ่มร้อนเผาลนขึ้น,  บางทีเข้าใจผิดไปยึดความสุขสงบในฌาน หรือความว่างในอรูปฌาน   ทําให้ไม่ทราบว่าดับทุกข์ได้แล้วจักเป็นสุขสงบบริสุทธิ์เยี่ยงใด?   หรือดับร้อนอะไร?  เยี่ยงใด?   คุ้มค่าให้ปฏิบัติไหม?   มีจริงหรือเปล่า?   และมักเข้าใจผิด จับสภาวะผลของความสุขสงบสบายอันเกิดแต่การปฏิบัติสมาธิหรือฌาน  หรือความว่างในอรูปฌานว่าเป็นสภาวะนิโรธ ฯลฯ.   ทั้งหลายเหล่านี้ทําให้จริงๆแล้วยังคงมีความกังวลความสงสัยอยู่ลึกๆในจิต(วิจิกิจฉา)  จึงทำให้การปฏิบัติเป็นไปอย่างผิดแนวทางโดยไม่รู้ตัวด้วยอวิชชา
        ๔. ความไม่รู้ใน"มรรค"   แนวทางปฎิบัติเพื่อการดับทุกข์   ควรปฏิบัติอย่างไร?   ศึกษาแล้วยังไม่เข้าใจ   ปฏิบัติไม่ถูก  ไม่รู้จะเริ่มตรงไหน?   วิธีใด?  ของใครถูกแน่?  มรรคองค์ใดแน่ๆที่ทำให้พ้นทุกข์?  ต้องปฏิบัติเป็นลำดับหรือไม่?  จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติอยู่เสมอๆ อันมักก่อให้เกิดการปฏิบัติแบบนอกลู่ผิดทาง อันนําผลร้ายมาสู่นักปฏิบัติเองโดยไม่รู้ตัว
        ๕. ความไม่รู้"อดีต"   อันคือการไม่รู้ระลึกชาติ หรือภพ(ชาติ ภพ ในปฏิจจสมุปบาท)ที่เคยเกิดเคยเป็นต่างๆในอดีต ของปัจจุบันชาติ อันคือ สภาวะมนุษย์ในชาตินี้นั่นเอง  หรือก็คือการย้อนระลึกขันธ์ ๕ หรืออุปาทานขันธ์ ๕ (การกระทําต่างๆในอดีตโดยการพิจารณาเป็นระบบอย่างแยบคาย)ที่เคยเกิด เคยเป็น  กล่าวคือ ไม่รู้ไม่เข้าใจอย่างแจ่มแจ้งในขันธ์ ๕ ที่เคยเกิดๆดับๆในอดีตว่า ก่อให้เกิดอุปาทานทุกข์ขึ้นนั้น เกิดแต่เหตุปัจจัยอะไร?  มิใช่อยู่ดีๆก็เกิดขึ้นเองอย่างไร้เหตุผล   การรู้อดีต หรือการระลึกชาติภพในปฏิจจสมุปบาทมีจุดประสงค์เพื่อเป็น เครื่องรู้(ความรู้)  เครื่องระลึกเพื่อเตือนสติ  เครื่องพิจารณาเพื่อก่อให้เกิดปัญญาญาณและนิพพิทา(ความหน่าย คลายกําหนัดในความชื่นชม ความยินดี)ในสิ่งที่ไปยึดไปอยาก  อันยังผลให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องทุกข์และการดับทุกข์   การรู้อดีตจึงมิได้มีเจตนาเพื่อการพิรี้พิไร ครํ่าครวญอาลัยในอดีต หรือมุ่งหมายทางอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์แต่ประการใด หรือเพื่อประโยชน์ในทางโลก (พิจารณาในปฏิจจสมุปบาทจนเข้าใจเรื่องภพ ชาติ ชรา-มรณะ จนมีความเข้าใจแล้ว ลองย้อนมาพิจารณาอีกครั้ง)
        ๖. ความไม่รู้"อนาคต"  การไม่รู้อนาคต คือไม่รู้ไม่เข้าใจในการอุบัติ(เกิด) การจุติ(ดับ)ของขันธ์ทั้ง ๕ หรือการเกิดๆดับๆของขันธ์ทั้ง ๕ ที่เกิดขึ้นตลอดเวลาว่าล้วนเป็นไปตามกรรม(การกระทําที่มีเจตนา)และหลักอิทัปปัจจยตาทั้งสิ้น    และในอนาคตนั้น ก็จักต้องเป็นเช่นนั้น เป็นไปตามหลักเหตุผล-อิทัปปัจจยตา อันเกิดมาแต่กรรมอันคือการกระทํานั่นเอง   และความทุกข์ในภายหน้าก็ล้วนเกิดๆดับๆอันเกิดแต่กรรมอันจักยังให้เกิดอุปาทานขันธ์ ๕ เช่นเดิมหรือเกิดความทุกข์ขึ้นเฉกเช่นเดียวกับอดีต   และด้วยความความไม่รู้อนาคต  จึงประมาท  ขาดการป้องกัน  จึงมิได้ระมัดระวัง  สำรวม  หรือแก้ไข,  กล่าวคือ การรู้อนาคตนั้นเพราะการเข้าใจในหลักเหตุปัจจัย(อิทัปปัจจยตา)นั่นเอง คือเมื่อเหตุเป็นเช่นนี้  ผลเยี่ยงนี้จึงต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน   อันเกิดขึ้นจากความเข้าใจในเหตุหรือสภาวธรรม(ธรรมชาติ)อย่างแจ่มแจ้งหรือหลักอิทัปปัจจยตา  จึงย่อมรู้ผลที่จักเกิดขึ้นในอนาคต  เพื่อเป็นเครื่องรู้ เครื่องระลึก เครื่องเตือนสติ  ระวังป้องกันแก้ไข  หรือยังให้เกิดนิพพิทาเช่นกัน  มิใช่เพื่อประโยชน์ในทางโลกๆ
        ๗. ความไม่รู้ใน"อดีตและอนาคต"  คือ เมื่อไม่รู้อดีตและอนาคต  จึงไม่สามารถหยั่งรู้ได้ถึงทุกข์ต่างๆที่จักต้องบังเกิดขึ้นอันเนื่องมาจากอดีต  จึงเกิดการไม่ยอมรับเมื่อวิบากกรรมเหล่านั้นมาเยือน จึงไม่เข้าใจในผลหรือเหตุปัจจัยต่างๆที่จะเกิดในอนาคตอย่างถูกต้องตามธรรมหรือตามความเป็นจริง  จึงเกิดความไม่เข้าใจ  ความไม่รู้  ความไม่มีเครื่องเตือนสติ  และเกิดความประมาทขึ้นเป็นที่สุด จึงไม่เป็นไปเพื่อนิพพิทา   การรู้อดีตหรือรู้อนาคตไม่ได้เป็นไปเพื่ออิทธิฤทธิ์หรือประโยชน์ในทางโลกแต่อย่างใด  แต่ล้วนเป็นไปเพื่อประโยชน์ในการดับทุกข์  พึงทำความเข้าใจให้ถูกต้อง
        ๘. ความไม่รู้ใน"ปฏิจจสมุปบาท"   ไม่ทราบ, ไม่รู้กระบวนการเกิดขึ้นแห่งทุกข์และกระบวนการดับไปแห่งทุกข์  เมื่อไม่รู้ไม่เข้าใจจึงย่อมไม่สามารถดับทุกข์ที่เหตุปัจจัยได้อย่างเข้าใจและถูกต้องตามจริง(ปรมัตถ์),   อันอุปมาได้ดั่ง "ช่างยนต์ที่ไม่รู้ไม่ศึกษาเรื่องเครื่องยนต์  แล้วจักซ่อมเครื่องยนต์ให้ได้ดีและเร็วได้ฉันใด"
        ดังนั้นเมื่อไม่รู้ ไม่เห็น และไม่เข้าใจในปฏิจจสมุปบาทหรือเรื่องการเกิดขึ้นของทุกข์และการดับไปของทุกข์ด้วยอวิชชา  จึงไม่มีการแก้ไข  หรือแก้ไขหรือปฏิบัติโดยไม่ถูกต้อง,  จิตย่อมถูกครอบงําด้วยอาสวะกิเลสอันเป็นสัญญาความจําที่แฝงด้วยกิเลสที่ทําให้จิตขุ่นมัวอันนอนเนื่องอยู่ในจิต  กล่าวคือ เมื่ออาสวะกิเลสผุดขึ้นมาจะเป็นด้วยผุดขึ้นมาเองตามธรรมชาติ๑   หรือเจตนาขึ้นมา๑  หรือเกิดแต่การกระทบผัสสะขึ้นมา๑  ก็ตามที  ก็จักเป็นเหตุปัจจัยร่วมกับอวิชชาโดยทันที  จึงเป็นเหตุที่ไปกระตุ้น เร่งเร้า ส่งเสริมให้เกิดสังขารสิ่งปรุงแต่ง อันหมายถึงการกระทําต่างๆทั้ง ๓ ทาง อันมี มโนสังขาร(จิตสังขารหรือความคิด),  วจีสังขาร(ทางวาจา),  กายสังขาร(การกระทําทางกาย) ตามความเคยชินที่ได้เคยสั่งสม ได้เคยอบรม หรือได้เคยประพฤติ, ได้เคยปฏิบัติ หรือก็คือการกระทํา(กรรม)ต่างๆแต่ในอดีต  จึงเป็นปัจจัยให้เกิดสังขารอันเป็นเหตุ เช่นความคิด ความนึก ความเห็น  อันล้วนแฝงกิเลส จึงเป็นเหตุก่อ ให้ดำเนินไปในกองทุกข์
         สังขารในปฏิจจสมุปบาท ที่หมายถึง การกระทําต่างๆนั้น เช่น การกระทําทางใจ-ความคิดนึกต่างๆ, การกระทําทางวาจา-การพูดจาต่างๆ, การกระทําทางกาย-การกระทําต่างๆทางกาย  ล้วนเป็นไปตามความเคยชินตามที่ได้สั่งสม,จดจำ,อบรมหรือประพฤติ,ปฏิบัติมาแล้วแต่อดีต ที่จะก่อให้เกิดทุกข์ หรืออาสวะกิเลสและร่วมด้วยกับอวิชชาความไม่รู้ นั่นเอง
ในที่นี้ เราจะเน้นที่จิตหรือใจอันยังให้เกิดมโนสังขารหรือการกระทําทางใจหรือจิต อันคือ ความคิดนึก
ซึ่งเป็นเหตุปัจจัยหลักหรือศูนย์บัญชาการของชีวิต,  และทําให้เกิดทุกข์และดับทุกข์โดยตรง
ตลอดทั้งยังเป็นต้นกําเนิดหรือเหตุปัจจัยหลักของ
กายสังขารอันยังให้เกิดกายกรรม-การกระทําทางกาย  และ
วจีสังขารอันยังให้เกิดวจีกรรม-การกระทําทางวาจา
ผ่านทางสัญเจตนาหรือเจตนาอันเกิดมาแต่จิตหรือใจนั่นเอง
จึงกล่าวได้ว่าจิตเป็นประธานทั้งต่อฝ่ายกายและฝ่ายใจ  เป็นไปดังพุทธพจน์นี้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย  เรากล่าวเจตนาว่าเป็นกรรม  บุคคลคิดแล้ว  จึงกระทำกรรมด้วยกาย ด้วยวาจา ด้วยใจ



อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่นี้ครับ.........http://www.nkgen.com/patitja1.htm







วงจรปฏิจจสมุปบาท

วงจรปฏิจจสมุปบาท

31 ตุลาคม 2013 เวลา 10:23 น.
วงจรปฏิจจสมุปบาทดังมีองค์ธรรม ที่ดำเนินเป็นเหตุปัจจัย สืบเนื่องสัมพันธ์กัน โดยย่อดังนี้ประกอบด้วย ๑๒ องค์ธรรม เป็น ๑๑ องค์แห่งเหตุปัจจัย

๑. อวิชชาร่วมกับอาสวะกิเลสเป็นปัจจัย จึงมีสังขารอวิชชา ความไม่รู้ตามความเป็นจริงแห่งธรรม ร่วมด้วยอาสวะกิเลสที่สั่งสมจดจำ จึงเป็นปัจจัยแก่กันและกัน จึงมี สังขารกิเลสเกิดขึ้น

๒. สังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณสังขาร สิ่งปรุงแต่งทางใจ ตามที่เคยสั่งสม,อบรม,ประพฤติ,ปฏิบัติไว้แต่อดีต(อาสวะกิเลส)จึงทำให้เกิดการกระทําทางกาย,วาจา,ใจ เป็นปัจจัย จึงมี วิญญาณ ขึ้นรับรู้ อันเป็นไปตามธรรมของชีวิต

๓. วิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนาม-รูปวิญญาณ กระบวนการรับรู้ของเหล่าอายตนะหรือทวารทั้ง ๖ ของชีวิต จึงรับรู้ในสังขารที่เกิดขึ้นนั้น เป็นปัจจัย จึงมี นาม-รูป

๔. นาม-รูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะนาม-รูป ทำให้รูปนามหรือขันธ์๕ที่มีอยู่แล้ว แต่นอนเนื่อง ครบองค์ของการทำงานตามหน้าที่ตนคือตื่นตัว เป็นปัจจัย จึงมี สฬายตนะ

๕. สฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะสฬายตนะ ตา,หู,จมูก,ลิ้น,กาย,ใจ เข้าทำงานตามหน้าที่แห่งตน เนื่องเพราะนาม-รูปครบองค์ตื่นตัวแล้ว เป็นปัจจัย จึงมี ผัสสะ

๖. ผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนาผัสสะ การประจวบกันของสฬายตนะ(อายตนะภายใน) & สังขาร(อายตนะภายนอก) & วิญญาณ ทั้ง๓ เป็นปัจจัย จึงมี เวทนา

๗. เวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหาเวทนา การเสวยอารมณ์หรือความรู้สึกรับรู้ที่เกิดจากการผัสสะ เป็นสุขเวทนาบ้าง, ทุกขเวทนาบ้าง, อทุกขมสุขบ้าง เป็นปัจจัย จึงมี ตัณหา

๘. ตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทานตัณหา กามตัณหาในรูป-รส-กลิ่น-เสียง-สัมผัส, ภวตัณหา-ความอยาก, วิภวตัณหา-ความไม่อยาก เป็นปัจจัย จึงมี อุปาทาน๙. อุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพอุปาทาน ความยึดมั่น,ความถือมั่นในกิเลสหรือความพึงพอใจในตน,ของตนเป็นหลักสำคัญ เป็นปัจจัย จึงมี ภพ

๑๐. ภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติภพ สภาวะของจิต หรือบทบาทที่ตกลงใจ อันเป็นไปตามอิทธิพลที่ได้รับจากอุปาทาน เป็นปัจจัย จึงมี ชาติ

๑๑. ชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา-มรณะ พรั่งพร้อมด้วย โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส หรืออาสวะกิเลสนั่นเอง

ชาติ อันคือ ความเกิด จึงหมายถึง การเริ่มเกิดขึ้นของกองทุกข์หรืออุปาทานทุกข์ ตามภพหรือสภาวะ,บทบาทที่ตกลงใจเลือกนั้น เป็นปัจจัยจึงมี ชรา-มรณะพร้อมทั้งอาสวะกิเลสชรา-มรณะ พร้อมทั้ง อาสวะกิเลส เมื่อมีการเกิด(ชาติ)ขึ้น ก็ย่อมมีการตั้งอยู่ระยะหนึ่งแต่อย่างแปรปรวน(ชรา) แล้วดับไป(มรณะ)เป็นธรรมดา ดังนี้

ชรา - ความเสื่อม ความแปรปรวน จึงหมายถึง ความแปรปรวนความผันแปร ความวนเวียนอยู่ในกองทุกข์ อันคือการเกิดอุปาทานขันธ์ ๕ ขึ้นและเป็นไปอย่างวนเวียนซํ้าซ้อน และเร่าร้อนเผาลนกระวนกระวายอย่างต่อเนื่อง

มรณะ - การดับ การตาย จึงหมายถึง การดับไปของทุกขข์นั้นๆ อันพรั่งพร้อมกับการเกิดขึ้นเป็นอาสวะกิเลส - อันคือความจำ(สัญญา)ได้ในสิ่งที่ทำให้จิตขุ่นมัวหรือกิเลส ที่เกิดขึ้น จึงเป็นความจำเจือกิเลสที่อยู่ในสภาพนอนเนื่อง แอบหมักหมมหรือสร้างรอยแผลเป็นอยู่ในจิตหรือความจำ อันจักยังผลให้เกิดเป็นทุกข์ขึ้นอีกในภายภาคหน้าอย่างแน่นอน กล่าวคือ

อาสวะกิเลส - ความจำเจือกิเลสที่ตกตะกอนนอนก้น นอนเนื่อองอยู่ในจิต ซึ่งเมื่อผุดขึ้นมาเองโดยธรรมชาติ หรือเกิดแต่เจตนาขึ้น หรือเกิดแต่การกระตุ้นเร้าของการกระทบสัมผัส(ผัสสะ)กับอารมณ์ใดก็ตามที ก็จะไหลไปซึมซาบย้อมจิต ซึ่งจะไปเป็นเหตุปัจจัยร่วมกับอวิชชาอีกครั้ง ดังเหตุปัจจัยแรก ดังนี้๑. อวิชชาร่วมกับอาสวะกิเลสเป็นปัจจัย จึงมีสังขารจึงหนุนเนื่องขับดันวงจรของความทุกข์ให้ดำเนินต่อไปได้อย่างต่อเนื่องไม่ขาดสายต่อไปในภายภาคหน้า จึงก่อให้เกิดการเวียนว่ายตายเกิดในกองทุกข์ หรือสังสารวัฏไม่รู้จักจบสิ้นไปตลอดกาลนาน