Saturday, September 10, 2022
อานาปานสติ (พิจารณาเห็นธรรมในธรรม)
อานาปานสติ (พิจารณาเห็นจิตในจิต)
อานาปานสติ (พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา)
อานาปานสติ (พิจารณาเห็นกายในกาย)
[๒๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้
ที่เป็นผู้ประกอบ ความเพียรในอันเจริญ อานาปานสติ อยู่ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ภิกษุที่เจริญ อานาปานสติ แล้วทำให้มากแล้ว
ย่อมบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้
ภิกษุที่เจริญ สติปัฏฐาน ๔ แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญ โพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้
ภิกษุที่เจริญ โพชฌงค์ ๗ แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญ วิชชาและวิมุตติ ให้บริบูรณ์ได้ ฯ
!!!.......!!!
[๒๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร
ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มี อานิสงส์มาก
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี
นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า เธอย่อม
-มีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า-
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือ เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือ เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็น ผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก
ว่าเราจักเป็น ผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจออก
ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจออก ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจออก
ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจออก
ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจออก
ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจออก
ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจเข้า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว
อย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ฯ
!!!……..!!!
[๒๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุที่เจริญ อานาปานสติ แล้วอย่างไร
ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญ สติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้
!!!........!!!
ดูกรภิกษุทั้งหลายสมัยใด
เมื่อภิกษุ หายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อ หายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว
เมื่อ หายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือเมื่อ หายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก
ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นกายในกาย
มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เรากล่าว ลมหายใจออก ลมหายใจเข้านี้ ว่าเป็นกายชนิดหนึ่งในพวกกาย เพราะฉะนั้นแล
ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นกายในกาย มี ความเพียร รู้สึกตัว มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ
!!!……….!!!
Friday, September 9, 2022
นวสีวถิกาบรรพ (มหาสติปัฏฐานสูตร)
ธาตุมนสิการบรรพ (มหาสติปัฏฐานสูตร)
ปฏิกูลมนสิการบรรพ (มหาสติปัฏฐานสูตร)
แต่พื้นเท้าขึ้นไป แต่ปลายผมลงมา มีหนังเป็นที่สุดรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่า มีอยู่ในกายนี้ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อเอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ไส้ทบ อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตามันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตรดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนไถ้มีปากสองข้าง เต็มด้วยธัญชาติต่างชนิดคือ ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ถั่วเขียว ถั่วเหลืองงา ข้าวสาร บุรุษผู้มีนัยน์ตาดีแก้ไถ้นั้นแล้ว พึงเห็นได้ว่า นี้ข้าวสาลี นี้ข้าวเปลือก นี้ถั่วเขียว นี้ถั่วเหลือง นี้งา นี้ข้าวสาร ฉันใดภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ แต่พื้นเท้าขึ้นไป แต่ปลายผมลงมา มีหนังเป็นที่สุดรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่า มีอยู่ในกายนี้ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืดไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้ทบ อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือดเหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตรดังพรรณนามาฉะนี้ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้างพิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้างพิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้างพิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้างพิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้างพิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้างย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่ากายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้นเธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลกดูกร ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯที่มา..มหาสติปัฏฐานสูตร : พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ bit.ly/3d2F370.....