Tuesday, June 2, 2015

ไม่คลุกคลี

"...ไม่คลุกคลี กายวาจาใจของเรานะอย่าไปคลุกคลีกับคนอื่นมาก วุ่นวายอยู่กับคนอื่นมากเนี่ย เสียเวลา เนิ่นช้าแน่นอน บางคนภาวนานะ ห่วงคนโน้นห่วงคนนี้นะ อย่างนิสัยพระโพธิสัตว์ถึงได้เนิ่นช้า...มันห่วงคนโน้นห่วงคนนี้นะ มันก็คลุกคลีไปเรื่อย มันอยากไปช่วยเขานะ
เพราะฉะนั้นถ้าเราอยากพ้นทุกข์เร็วๆนะ อย่าคลุกคลีมาก คลุกคลีเท่าที่จำเป็น 

ไปกินเลี้ยง เลี้ยงลูกค้า เป็นการคลุกคลีมั้ย ไม่ใช่นะ เป็นการทำหน้าที่ พาลูกน้องไปเลี้ยง ไม่ได้เรียกว่าคลุกคลีนะ เป็นการทำหน้าที่
คลุกคลีหมายถึง ไม่จำเป็นอะไรเลยก็ไปยุ่งกับคนอื่นตลอดเวลา ว่างๆไม่มีอะไรนะก็ขับรถไปคุยกับเขา รถติดมากก็โทรฯไปคุยกับเขา อะไรอย่างนี้ อยู่ไม่ได้ อยู่เฉยไม่ได้
ไม่มีใครคุยด้วยก็เข้าห้องแชต คุยกับหมากับแมวที่ไหนก็ไม่รู้เหมือนกัน วุ่นวายอยู่กับคนอื่น วุ่นวายอยู่กับสิ่งอื่นตลอดเวลา ใจออกนอกตลอดนะ อย่างนี้ภาวนาอย่างไรก็เนิ่นช้า
นี่พวกเรามาสำรวจตัวเองนะ เรามักน้อยมั้ย เราสันโดษมั้ย เราคลุกคลีกับคนอื่นเกินจำเป็นมั้ย หลวงพ่อไม่คลุกคลีนะ แต่ไหนแต่ไรตั้งแต่เป็นโยม ทำงานทำเต็มที่นะ ถ้าหมดเวลางานของเรา...กลับบ้าน อาบน้ำอาบท่านะ พักผ่อนพอมีเรี่ยวมีแรง ก็ภาวนา มันก็ไม่ช้าหรอก ถ้าคลุกคลีมากก็ช้า
ทุกครั้งที่เราพูดกับคนอื่น เราเสียพลังงานนะ 
พลังของจิตจะเสียไป เพราะฉะนั้นพูดน้อยๆนะ ดี คนที่มีฤทธิ์ทางใจ สังเกตให้ดีเถอะ เงียบๆ
พวกที่มีฤทธิ์มากๆนะ มีอภิญญามากๆ ไม่ค่อยพูดอะไรหรอก เงียบๆ เพราะพูดมาก เสียพลัง พลังฝึกปรือเสื่อม
ยิ่งไปคลุกคลีกับคนยิ่งไปคบคนฟุ้งซ่านนะ ยิ่งหมดพลังฝึกปรือเลย แล้วไปคบกับพวกพูดธรรมะด้วยกันนะ วันๆ นั่งพูดธรรมะเรื่อยๆนะก็หมดพลังนะ กระทั่งพูดธรรมะก็หมดพลังนะ ไม่ใช่ไม่หมดพลัง พูดเท่าที่จำเป็น..."
🌼หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
ขอบคุณบทความดี จาก...https://goo.gl/6k6HkB

ให้ผิวคุณสะอาดเนียนใส ภายในเวลาแค่ 10 นาที ลดเลือนริ้วรอยและช่วยให้รูขุมขนเล็กลง ผิวขาวกระจ่างใสขึ้น
ผู้สนับสนุน >>>http://goo.gl/mx7OpJ
                                                     

                    ขาวออร่าจับใน 10 นาที 

Wednesday, May 27, 2015

เพื่อการปฏิบัติธรรม

เพื่อการปฏิบัติธรรม เพื่อสู้กับกิเลส ตัณหา อุปาทาน ที่เป็นตัวต้นเหตุแห่งกระแสที่พาไปสู่ความทุกข์ เพื่อการชี้นําหนทางอันเป็นทางสั้น และตรงสู่การดับทุกข์ หาใช่เพื่อพาเข้าไปสู่ความวิเศษวิโส โอ้อวด หรือเพื่อความพิเศษเพิ่มขึ้น แต่เพื่อคลาย ให้ผ่อน เพื่อละความโง่ที่พาให้เกิดเป็นการถือตัว ที่ดันทุรังถือกันมานาน เพื่อสร้างความเย็นให้แก่จิต
                                         .............(โอวาทธรรมของท่าน..ภิกขุโย...)............

 ..................ภาพ เป็นโอวาทธรรมของ...หลวงปูมั่น ภูริทัตโต.....................
การปฏิบัติธรรมของเรา ก้เพื่อการ ปล่อยละ ปล่อยวาง ธาตุขันธ์ เพื่อให้เข้าถึงสภาวธรรมตรงๆนั้นคือ
คววามสงบสุข ปราศจาก ความยึดมั่น หมาย สิ่งใดๆ ในโลกนี้
ความทุกข์ ที่เกิดขึ้นกับคนเราทุกวันนี้ บ้างก้หนี จากปัญหาคือการ ดืมสุราเพื่อหวังจะลืมทุกข์นั้น
บ้างก้วิ่งเข้าหาวัด เพื่อจะขจัดปัดเป่า หรือเสริมบารมีอะไรต่างๆ บ้างก้กล้า เผชิญปัญหาต่อสู้กับมัน จนที่สุด บ้าง ก้ปล่อยวางได้ บ้างก้ปล่อยวางไม่ได้ ดิ้นรนกันทุกวีถีทางเพื่อให้ ให้ออกจากทุกข์นั้นๆได้
แต่สุดท้ายแล้ว การแก้ปัญหาอะไร ก้ตาม ก้ไม่พ้น การแก้ ปัญหาทั้งหมด ของเราทุกๆคนจะต้องแก้ปัญหาต่างๆที่กายและใจเรานีนี้เอง  การแก้ปัญหา ต่างๆต้องใช้เหตุผลต่างๆ และคิดให้รอบครอบปัญหาต่างๆ ยิ่งคิด ยิ่งยาวไกล เพราะ สิ่งต่างๆมันจะถูกปรุงแต่งจาก จิตใจ พร้อมด้วย ความทะยานอยากนั้นเพื่อให้สิ่งที่ตัวเองคิดนั้นสิ้นสุดลง แต่จนแล้วจนรอด ก้ยังพาตัวเองออกจากปัญหานั้นไม่ได้ เพราะการคิดวนรอบ หรือเรียกว่า พายเรือในอ่าง ของจิตใจเรา นั้นเอง เราลองหยุดคิด.....แล้วย้อน หรือ มีความรู้สึกตัว กลับมาที่ตัวของเราดู แล้ว ลอง ทำใจให้สบายๆ วางกาย เราให้โปร่งโร่งเบา พร้อมมีสติ รู้ ลมหายใจ เข้าออก สักครู่ แล้วลอง พิจารณาความรู้สึกของเาดูสิ ว่าเป็นอย่างไรบ้าง...!!



               ...............ธรรมะบรรยายของหลวงพ่อ วิชัย เขมมิโย วัดถ้ำผาจม จ.เชียงราย...........

ผู้สนับสนุนหลัก >>> http://goo.gl/4WZNBb


Monday, May 25, 2015

ละอุปาทาน



พระธรรมเทศนา โดย หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
ที่เรามาพร้อมกันวันนี้ให้พากันดูใจของตน ให้รู้จักที่อยู่ที่อาศัยของตน
เกิดมาแล้วเราต้องแสวงหาที่พึ่งของเรา ถ้าเราไม่มีที่พึ่งที่อาศัยแล้วเราก็ไม่มีที่อยู่ 
เหตุฉะนั้นเราก็ต้องหาหลักฐาน ต้องอบรมกรรมฐาน 
เหตุไฉนเรียกว่ากรรมฐาน 
กรรมว่างานที่ทำ ฐานะคือที่ตั้ง 
เวลานี้จิตเราตั้งอยู่ ณ สถานใด ในภูมิอันใด ในภพใด 
อยากรู้ต้องกำหนดจิตเข้า นึกคำภาวนาไปให้รู้จักหลักฐานของเรา 
เราเคยทำบริกรรมภาวนา ระลึกคำภาวนาอันใดแล้ว 
เราก็ระลึกคำภาวนานั้นๆ เพ่งดูจิตดวงนั้นว่าอยู่สถานใด 
เวลานี้จิตของเราเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ จิตสงบหรือไม่สงบ 
เราต้องการความสุขต้องการความเจริญ จงทำจิตให้สงบอยู่ในกรรมฐาน 
ฐานที่ตั้งนี้พระพุทธเจ้าท่านวางไว้
หลักของพระพุทธศาสนา คือ ศีล สมาธิ ปัญญาเป็นเครื่องวัด 
ศีล เวลานี้เราทั้งหลายก็เป็นผู้สำรวมอยู่แล้ว 
กายก็ดีวาจาก็ดี ใจก็ดี เป็นปกติหรือสงบระงับอยู่แล้ว ยังอยู่แต่สมาธิ 
สมาธิเป็นผู้ตั้งจิตมั่นอยู่ภายใน ก็ลองตั้งดูซิ 
จิตตั้งมั่นนั้นเป็นอย่างไร มันไม่ได้ส่งไปข้างหน้ามาข้างหลัง ข้างซ้ายข้างขวา ข้างบนข้างล่าง 
ตั้งจำเพาะอยู่ที่รู้ ความรู้อยู่ตรงไหนเราก็เพ่งดูอยู่ตรงนั้น 
เราไม่ต้องหา ดูสิ่งที่มีอยู่ มีอยู่ในดวงจิตของเรา มันอยู่อย่างไรก็ดูอยู่อย่างนั้น 
เพื่อว่าจะได้รู้จักความเป็นอยู่ของเรา 
มันเป็นสุขเราก็รู้จัก มันเป็นทุกข์เราก็รู้จัก มันเฉยๆ เราก็รู้จัก 
สมาธิคือมันว่างจากอารมณ์สัญญาหมด เราก็รู้จัก 
จิตของเราตกอยู่ในชั้นใดภูมิใด เราก็รู้จัก 
เช่นตกอยู่ในกามาวจรหรือพ้นจากกามาวจร อย่างนี้เราก็รู้จัก
จิตพ้นจากกามาวจรนั้นอย่างไร คือจิตอยู่ในกามาวจรนั้น
มันท่องเที่ยวอยู่ในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ทั้งหลาย เป็นที่อารมณ์อยู่ 
ที่เรียกว่าผู้มีความยินดี ในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในสัมผัส ในอารมณ์ทั้งหลาย 
อย่างนี้เรียกว่าจิตอยู่ในกามาวจรภูมิ อยู่ในภพที่เรียกว่ากามภพ
จิตพ้นจากกามาวจรเป็นอย่างไร
คือมันปล่อยวางรูปภายนอก เสียงภายนอก กลิ่นภายนอก รสภายนอก 
สัมผัสอารมณ์ทั้งหลายไม่มี 
เห็นแต่อัตตภาพร่างกายของเรานี้ มาพิจารณาสังขารร่างกายของเรานี้อยู่จำเพาะตัวของเรา 
ไม่ได้ส่งจิตไปอื่นไปไกล เห็นแต่สังขารร่างกายของเราเอง 
ความชำรุดทรุดโทรม หรือเห็นสังขารร่างกายอย่างที่เป็นอยู่นั้นอย่างนั้น 
มีผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เหล่านี้ ไม่มีสิ่งอื่นจะยิ่งไปกว่านี้ จะเหนือไปกว่านี้ 
ความสุขก็ดี ความทุกข์ก็ดี เห็นความชำรุดทรุดโทรม หรือเห็นความแตกสลายไป 
จิตมันก็เลยละจากรูปนี้ เกิดนิพพิทาความเบื่อหน่ายในรูปนี้ 
เพราะรูปนี้ไม่มีแก่น ไม่มีสาร ไม่มีสาระ 
เราถือว่าเป็นตัวเป็นตน เป็นสัตว์เป็นบุคคล เป็นเราเป็นเขา 
เมื่อเราพิจารณาในมูลกรรมฐานแล้ว
เห็นว่าไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน ไม่ใช่เราไม่ใช่เขา 
เหตุใดจึงว่าเช่นนั้น เราก็พิจารณาดูซี่ ยกขึ้นมาอย่างนี้ 
ปิตตัง น้ำดี เสมหัง น้ำเสลด ปุพโพ น้ำเหลือง โลหิตัง น้ำเลือด 
เสโท น้ำเหงื่อ เมโท น้ำมันข้น อัสสุ น้ำตา วสา น้ำมันเหลว 
เขโล น้ำลาย สิงคานิกา น้ำมูก ลสิกา น้ำไขข้อ มูตตัง น้ำมูตร 
นี่มันเป็นคนที่ไหน มันไม่ได้เป็นผู้หญิงผู้ชาย ไม่ได้เป็นใครทั้งหมด มันเป็นอย่างนั้น
เมื่อเราเห็นอย่างนี้แล้วเราจึงละสักกายทิฐิได้ 
วิจิกิจฉา ความสงสัยเคลือบแคลงว่าจะเป็นอย่างโน้นอย่างนี้ ไม่มี เป็นจริงอย่างนั้น 
เราเห็นอย่างนั้นแล้ว จิตของเราก็ว่าง สงบลงไป 
เรื่องมันเป็นอย่างนี้ ก็พิจารณาเห็นได้ 
เช่นว่าน้ำมูกนี่มันจะเป็นคนได้อย่างไร น้ำลายจะเป็นคนได้อย่างไร น้ำมูตรจะเป็นคนได้อย่างไร 
พิจารณาดู เมื่อเราพิจารณาเห็นจริงแจ้งประจักษ์อย่างนั้นแล้ว 
เห็นว่ามันไม่มีตัวตน ไม่มีสัตว์ไม่มีบุคคล ไม่มีเราไม่มีเขา 
สิ่งเหล่านั้นเขาไม่ได้เป็นอะไร เขาต่างอยู่อย่างนั้น 
เราหลงถือเอาเขาเป็นตัวเป็นตนเสียเอง 
เราพิจารณาแยกธาตุจำแนกออกแล้ว เลยเห็นว่าไม่มีตัวตน มันก็เลยละสักกายทิฐิ 
สัตว์บุคคลมันก็ละได้วางได้ อารมณ์ สัญญาทั้งหลาย วิจิกิจฉาก็ไม่มีแล้ว 
สีลัพพัตตปรามาส ความลูบคลำว่าจะดีอย่างนั้นจะดีอย่างนี้ ก็ไม่มีแล้ว มันก็เลยละได้
เมื่อจิตละได้แล้วมันก็วางจากรูป วางจากรูปมันก็ถึงอรูปภพ
อรูปภพคือเป็นอย่างไร คือจิตว่างหมดไม่มีอะไร เหลือแต่ผู้รู้
ความรู้นี่แหละเป็นของสำคัญ ที่เรียกว่า “พุทธะ” คือผู้รู้
เพราะเหตุนี้เราก็มาแสวงหาความรู้ เราต้องการความรู้
เราก็ทำความรู้นั้นอยู่ พิจารณาความรู้นั้นอยู่ 
ความรู้นี้ไม่ใช่มืด ไม่ใช่แจ้ง ไม่ใช่สว่าง ไม่ใช่หลง 
ความที่มันหลงเราก็รู้อยู่ มืดเราก็รู้อยู่ สว่างเราก็รู้อยู่ สุขมันก็รู้ ทุกข์มันก็รู้ อย่างนี้
เพราะฉะนั้น ต้องกำหนดความรู้นี้ให้เห็นจริงแจ้งประจักษ์ในตัวของเรา
ความรู้นี้เป็นของสำคัญมาก เช่นทุกขเวทนาเกิดขึ้น
ก็ใช้ความพิจารณาให้เห็นจริงว่าเวทนาก็เป็นส่วนเวทนา 
ผู้รู้ไม่ได้เป็นอะไรไปด้วย ไม่ได้แตกทำลายอะไรหรอก มันยังรู้อยู่ 
สุขเวทนาก็เช่นกัน สุขเกิดขึ้นก็รู้ว่าสุขมันเกิด 
รู้อยู่อย่างนั้น ไม่ไปหลงว่าสุขนั้นเป็นตัวตนของเรา 
ทุกข์เกิดขึ้นเราก็ดูให้รู้อยู่ว่ามันเกิดขึ้น ไม่ไปยึดความทุกข์เอาเป็นตัวเรา 
มืดเกิดขึ้นเราก็ดูมันรู้อยู่ สว่างเกิดขึ้นเราก็ดูมันรู้อยู่ 
ความรู้นี้เหนืออะไรๆ หมด เหนือโลกเหนือโลกุตตรธรรมทั้งหลาย 
มันเป็นอย่างนั้นแหละความรู้ เกิดมันก็รู้ แตกมันก็รู้ 
แต่ว่าเราทั้งหลายเห็นความเกิดขึ้นมาก็หลง เห็นความตายขึ้นมาก็หลง 
แท้ที่จริงมันไม่ใช่อย่างนั้น แก่เราก็รู้ว่าแก่ ผู้รู้มันไม่ได้แก่ด้วย 
เจ็บไข้ได้พยาธิมันก็รู้อยู่ ผู้รู้ไม่ได้เจ็บไม่ได้ไข้ไปด้วย 
ตายมันก็รู้อยู่ ผู้รู้มันไม่ได้ตาย ที่จริงมันเป็นอย่างนี้
เหตุฉะนั้นให้พากันเร่งปฏิบัติภาวนา เพ่งเล็งดู กำหนดดู
ไม่ต้องหาของสำหรับดูที่ไหน ดูของที่เรามีอยู่หมดแล้วในตัวของเรา 
ที่ว่างก็มีอยู่แล้ว ไม่ว่างก็มีอยู่แล้ว สุขก็มีอยู่แล้ว ทุกข์ก็มีอยู่แล้ว มีทุกอย่างเดี๋ยวนี้แหละ 
ดูที่เรามีอยู่น่ะแหละ มันตั้งอยู่อย่างไรก็เฝ้าดูมันอย่างนั้น ดูให้รู้ 
แล้วอย่าไปยึดเอาสิ่งโน้นสิ่งนี้มาเป็นตัวเป็นตน 
เรื่องมันเป็นอย่างนั้นแหละ เราต้องพากันเข้าใจข้อนี้ 
เหตุฉะนั้นจึงได้มาทำกรรมฐาน กรรมคือการที่กระทำ ฐานฐานะคือที่ตั้ง
ตั้งให้มันอยู่ ว่างอยู่ก็ให้รู้ ไม่ว่างก็ให้รู้ 
เราจะละได้ต้องเพ่งมูลกรรมฐาน 
ท่านสอนมูลกรรมฐานก็เพื่อให้รู้ตามจริง 
ท่านสอนเรื่องผมให้เรารู้ว่าผมมันเป็นยังไง มันเป็นคน หรือเป็นอะไร 
ผมนี่มันเป็นของสะอาดหรือไม่สะอาด 
นี่เป็นวิธีที่จะกำจัดราคะ โลภะ โทสะ โมหะของเรา 
เพื่อให้กำจัดความทะเยอทะยานเรื่องตัวตนของเรา 
ขนล่ะมันเป็นคนที่ไหน เล็บอย่างนี้มันเป็นคนที่ไหน ฟันอย่างนี้เป็นคนที่ไหน 
หนังมันเป็นคนที่ไหนเล่า เนื้ออย่างนี้เป็นคนที่ไหน เส้นเอ็นเป็นคนที่ไหน 
กระดูกเป็นคนที่ไหน เส้นเลือดเป็นคนที่ไหน 
เยื่อในกระดูกเล่าเป็นคนที่ไหนเล่า พิจารณาดูซี่ 
หทัยวัตถุเป็นคนที่ไหน ตับไตไส้น้อยไส้ใหญ่อาหารเก่าอาหารใหม่นั่นเป็นคนที่ไหน 
เราพากันมาเพ่งดูสิ่งเหล่านี้ให้เห็นอย่างว่านั้น 
เราจึงจะละอุปาทานการยึดถือได้ เราจึงจะละสักกายทิฐิได้ 
ถ้าเราไม่พิจารณาอย่างนี้แล้วมันละไม่ได้ มันวางไม่ได้ 
ถ้าเราเห็นตามความเป็นจริงแล้ว 
มันก็ไม่มีที่ยึด ไม่มีที่จะถือเอาในตัวของเรา 
เมื่อจิตมันเห็นแล้วมันก็ปล่อยเองวางเอง
เหตุนั้นให้พากันกำหนดเพ่งเล็งดู วางอารมณ์ลงไป ดูลมหายใจเข้าลมหายใจออก
เพ่งลงไป ดูให้รู้ใครเป็นผู้ว่านี้คือผม นี้คือขน นี้คือเล็บ นี้คือฟัน นี้คือหนัง 
ผมก็เป็นผม ขนก็เป็นขน เล็บก็เป็นเล็บ ฟันก็เป็นฟัน หนังก็เป็นหนัง 
ยังเหลืออะไรล่ะ ดูเข้าชี่ เราจะเห็นตนละ 
ตนก็คือผู้รู้ว่านี่ผม นี่ขน นี่เล็บ นี่ฟัน นี่หนัง ตนคือผู้รู้ว่าสุข ว่าทุกข์ ว่าดี ว่าชั่ว 
ผู้นั้นแหละตนละ ไปจ้องดูซี ให้มันเห็นแน่นอนซี 
ผู้นั้นไม่ได้เป็นอะไรนี่ ไม่ได้เป็นผม เป็นขน เป็นเล็บ เป็นฟัน เป็นหนัง 
มันเป็นแต่ผู้รู้เท่านั้น ผู้รู้มันไม่ดับไม่หาย ไม่แตกไม่สูญ ไม่ทำลาย 
ว่างมันก็รู้ว่าว่าง หมดมันก็รู้ว่าหมด แต่ผู้รู้มันไม่รู้จักหมด 
เป็นอยู่อย่างนั้นตั้งแต่ไหนแต่ไรมา 
ถ้าเราหลงแล้วเอาผู้รู้ไปผสมผเส ไปยึดอะไรเข้ามา 
ก็เป็นตัวสมุทัย เป็นตัวภพตัวชาติขึ้นมา นี่มันเป็นอย่างนั้น 
ถ้าเรากำหนดให้รู้จริงแล้ว มันไม่มีอะไรไม่เป็นอะไรหรอก
มันเป็นแต่รู้เท่านั้น ธรรมชาติมีอยู่อย่างนั้น 
เกิดมันก็ไม่เกิด ถ้าจะเกิดมันก็รู้ แล้วจะไปเกิดทำไมล่ะ แก่มันก็รู้ จะไปแก่ทำไมล่ะ 
เจ็บมันก็รู้ จะไปเจ็บทำไมล่ะ ตายมันก็รู้ จะไปตายทำไมล่ะ หลงมันก็รู้แล้วจะไปหลงทำไม 
นี่จึงว่า “พุทธะ” คือผู้รู้ ความรู้นี้แหละสำคัญมาก 
เราต้องเจริญให้ยิ่ง ทำให้ยิ่ง พิจารณาให้ยิ่ง กำหนดให้ยิ่ง
ต้องเพ่งอยู่สิ่งเดียว พอเรากำหนดจิตนิ่งอยู่สิ่งเดียวแล้ว 
โรคทั้งหลายมันก็ระงับดับหมด ภัยมันก็ดับหมด 
กิเลสตัณหา ราคะ โลภะ โทสะ โมหะ มันก็ดับไปเอง 
เพราะจิตนั้นไม่เป็นแล้ว ใครจะมาเป็นเล่า ภัยเวรมันก็ดับไปเอง 
ผู้นั้นไม่มีภัยแล้ว ภัยมันจะมาจากไหนเล่า 
ผู้นั้นไม่มีเวรแล้ว เวรมันจะมาจากไหนเล่า 
ผู้นั้นไม่มีกรรม กรรมมันจะมาจากไหนเล่า 
ผู้นั้นไม่มีความชั่ว ความชั่วมันจะมาจากไหนเล่า 
ผู้นั้นไม่ทุกข์ ทุกข์มันจะมาจากไหนเล่า มันก็เป็นแต่ผู้รู้เท่านั้น 
ทำให้รู้เสียเดี๋ยวนี้ ให้เห็นแจ้งประจักษ์เชื่อมั่นลงไปซิ 
ความรู้ไม่ได้เป็นทุกข์ ไม่ได้เป็นภัย ไม่มีได้เป็นเวร 
เวลานี้เราไปยึดเอาภัย มันก็เป็นภัย ไปยึดเอาเวร มันก็เป็นเวร 
ไปยึดเอากรรม มันก็เป็นกรรม ยึดเอาทุกข์ มันก็เป็นทุกข์ 
ยึดอย่างไหนมันก็เป็นอย่างนั้น
เพราะเหตุนั้นท่านจึงให้ไม่ยึดอะไรทั้งหมด ท่านให้ปล่อยให้วางให้ละ
ในธัมมจักกัปวัตนสูตร ท่านว่า “จาโค ปฏินิสสัคโค มุตติ อนาลโย” 
จาโค คือความสละ หรือความละ ความวาง ความปล่อยให้ 
เมื่อจิตเราเป็นหนึ่งอยู่แล้ว เป็น เอกัง จิตตัง จิตดวงเดียวแล้ว 
เอกัง ธัมมัง เป็นธรรมดวงเดียวแล้ว 
สิ่งทั้งหลายก็ว่างไปเอง ไม่มีอะไร ว่างหมด 
จิตเป็นธรรมอยู่ดวงเดียวนั้นแหละ ไม่ต้องส่งหน้าส่งหลัง คำนึงถึงอื่นละ 
จะพ้นทุกข์ก็พ้นตรงนั้นแหละ พ้นทุกข์ก็เมื่อจิตมันไม่ทุกข์น่ะแหละ 
มันเป็นแต่ผู้รู้ รู้มันไม่ใช่ทุกข์ มันกำหนดรู้อยู่อย่างนั้น สิ่งใดเกิดขึ้นก็รู้อยู่อย่างนั้น 
ท่านว่าปัญญาวิปัสสนากรรมฐานผู้รู้จักที่เกิดแห่งสังขาร 
รู้จักที่ดับแห่งสังขาร เห็นทุกข์เห็นโทษเห็นภัยในสังขาร 
อย่างนี้เป็นวิปัสสนาคือความรู้แจ้งเห็นจริง เรื่องมันเป็นอย่างนี้ 
เหตุนี้แหละจึงให้พากันทำให้เข้าใจ
พวกเรากระทำศีล สมาธิ ปัญญา ให้มันแน่นอนลงไปซิ 
ปัญญานั้นคือความรู้ว่าจิตของเรามีอยู่อย่างไร 
สมาธินั้นคือจิตของเราตั้งมั่น เมื่อตั้งแล้วจะเอนเอียงอย่างไรเราก็รู้ 
มันตรงอยู่เราก็รู้ มันนิ่งอยู่เราก็รู้ 
นี่แหละความสุขทั้งหลายเกิดจากความสงบเป็นสมาธิ 
ปัญญาก็เกิดจากสมาธินี่แหละ ถ้าเราตั้งหลักตั้งฐานได้แล้ว
มันก็มีรากฐาน ปัญญาก็เกิดขึ้น พอจิตเคลื่อนไหวมันก็รู้แล้ว นั้นเรียกว่าปัญญา 
จิตนิ่งมันก็รู้อีกแหละ นั่นเรียกว่าสติ ปัญญาอยู่ตรงนี้ ไม่ได้อยู่ที่อื่นไกล 
ให้พากันเข้าใจ แต่นี้ต่อไปให้พากันหมั่นทำข้อปฏิบัติอยู่เสมอ 
เราต้องการพ้นทุกข์ ทุกข์ทั้งหลายไม่ได้อยู่บนฟ้าอากาศ ไม่ได้อยู่ในต้นไม้ภูเขาเหล่ากอ
อยู่จำเพาะที่จิตของเรา เมื่อจิตของเราไม่ทุกข์แล้วจะเอาอะไรมาทุกข์เล่า 
มันก็พ้นที่จิตไม่ทุกข์น่ะแหละ จะพ้นตรงไหน ถ้าจิตไม่ทุกข์ก็แปลว่ามันพ้นน่ะซี 
จิตยังมีทุกข์ก็แปลว่ายังไม่พ้น เมื่อจิตยังมีภพอยู่ก็แปลว่ามันยังไม่พ้นจากทุกข์ 
เมื่อจิตไม่มีภพ มันก็หมดภพ เพราะมันไม่ได้ไปยึดอะไรนี่ ไม่ได้ไปเกาะอะไร 
มันเป็นแต่ผู้รู้อยู่เท่านั้น มันจะเอาภพมาจากไหน 
ได้ยินได้ฟังแล้วต้องทวนกระแสเข้ามา 
เอหิปัสสิโก เรียกร้องสัตว์ทั้งหลายมาดูธรรม ก็ดูรูปธรรม นามธรรมของเราเองน่ะซี 
รูปธรรมก็อัตภาพร่างกายของเรา นามธรรมก็ดวงใจของเรา 
เรามาดูซี่ ธรรมนี้เป็นกุศลธรรมหรืออกุศลธรรมหรืออัพยากตธรรม เราต้องรู้จัก 
กุศลธรรมคือความสุข อกุศลธรรมคือความทุกข์ 
อัพยากตธรรมสุขก็ไม่ใช่ ทุกข์ก็ไม่ใช่ ดีก็ไม่ใช่ ชั่วก็ไม่ใช่ ปฏิเสธทั้งหมด
เพราะฉะนั้นเมื่อเราทั้งหลายต้องการความพ้นทุกข์ ต้องรู้ว่ามันพ้นที่จิตสงบ
เมื่อจิตของเราสงบแล้ว มันก็พ้นตรงนั้นเอง ไม่ต้องไปหาที่อื่น นี่แหละข้อปฏิบัติ
เพราะฉะนั้นให้พากันทำจิตของเราให้แน่วแน่ลงไป กำหนดผู้รู้เอาไว้
ผู้รู้นั้นไม่ใช่สุขไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่ดีไม่ใช่ชั่ว ผู้รู้คือพุทธะ 
ให้เราถึงพุทธสรณะ ธรรมสรณะ สังฆสรณะ 
ได้สรณะที่พึ่งอย่างแน่วแน่จริง แจ้งประจักษ์ลงไป ไม่มีสรณะอื่นจะยิ่งไปกว่านี้ 
เมื่อท่านทั้งหลายได้สดับตรับฟังแล้วในโอวาทานุศาสนี ธรรมะคำสั่งสอนนี้ 
ซึ่งแสดงโดยย่นย่อ พอเป็นข้อปฏิบัติประดับสติปัญญาบารมี 
ก็ให้พากันโยนิโสมนสิการ กำหนดจดจำนำไปประพฤติปฏิบัติฝึกหัดตนของตน
ให้เป็นไปในศีล เป็นไปในธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว 
พวกท่านทั้งหลายจะประสบแต่ความสุขความเจริญงอกงามดังได้แสดงมา 
เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้
(ถอดจากบันทึกในแถบบันทึกเสียงของนายแพทย์อวย เกตุสิงห์
ม.ร.ว. ส่งศรี เกตุสิงห์ ผู้ถอด อวย เกตุสิงห์ เรียบเรียง)
..... จากพระธรรมเทศนา “จิต” ใน อาจาโรวาท ฉบับพิมพ์ปี ๒๕๕๐ .....
dlitemag
ผู้สนับสนุน >>> http://goo.gl/bTZ3Ly




Friday, May 8, 2015

วงจรปฏิจจสมุปบาท




ปฏิจจสมุปบาท เป็นธรรมที่แสดงกฎของธรรมชาติ ถึงความเป็นเหตุเป็นผล และความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน จนเป็นผลให้เกิดทุกข์ และแสดงเหตุที่ทำให้ทุกข์นั้นดับลงไป โดยทุกข์ที่ว่านี้ คือทุกข์ชนิดที่ดับหรือทำลายลงไปได้ นั่นก็คือ อุปาทานทุกข์ นั่นเองโดยหลักการของปฏิจจสมุปบาท นั้นตั้งอยู่บนหลักการของวิทยาศาสตร์โดยสิ้นเชิง เพียงแต่สิ่งที่พระพุทธองค์ทรงกล่าวไว้นั้น เป็นเรื่องของจิตที่ละเอียดลึกซึ้ง อันจะจับต้องไม่ได้ หรือสัมผัสให้เห็นเป็นรูปธรรมไม่ได้ (นามธรรม) แต่จะบังเกิดผลได้แก่ผู้รู้ที่เข้าใจและปฏิบัติด้วยตนเองเท่านั้น (ปัจจัตตัง) จึงเป็นที่เคลือบแคลงแก่ปุถุชนทั่วไป ที่นิยมจับต้องสิ่งอันเป็นวัตถุนิยม


นิยาม
ปฏิจจสมุปบาท อธิบายถึง การเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลายเพราะอาศัยกัน, การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันจึงเกิดมีขึ้น เช่น ทุกข์เกิดขึ้นเพราะมีปัจจัย 12 เรื่องเกิดขึ้นสืบ ๆ เนื่องกันมาตามลำดับดังนี้ คือ
เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมี
เพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมี
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมี
เพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมี
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมี
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมี
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปทานจึงมี
เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมี
เพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมี
เพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมี
ความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส และความคับแค้นใจ ก็มีพร้อม ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ จึงมี
ด้านบนนี่ เป็นเทศนาที่เรียกว่า อนุโลมเทศนา และหากพิจาณาย้อนกลับจะเรียกว่า ปฏิโลมเทศนา
พอเราๆ ท่านๆ ที่เป็นมนุษย์ปุถุชนธรรมดา อ่านหลักธรรมด้านบนนี้แล้ว คงจะงงๆ ว่าแล้วมันคืออะไร มีแต่คำศัพท์ยากๆ ยากที่จะเข้าใจทั้งนั้นเลย อะไรคือสฬายตนะ อะไรคือผัสสะ … 

ดังนั้นเลยจะขออธิบายแบบง่ายๆ ดังนี้
อาสวะ
ก่อนจะพูดถึง แต่ละขั้นตอนของวงจรปฏิจจสมุปบาทนั้น ต้องพูดถึงที่มาของสิ่งเหล่านี้ก่อน นั่นก็คือ “อาสวะ”
อาสวะ แปล ตามรูปศัพท์ว่า สิ่งที่ไหลซ่านไปทั่ว หรือ อีกนัยหนึ่งว่า สิ่งที่หมักหมม หรือหมักดอง หมายความว่า เป็นสิ่งที่หมักดองสันดาน คอยมอมพื้นจิตใจ และ เป็นสิ่งที่ไหลซ่าน ไปอาบย้อมจิตใจ เมื่อประสบอารมณ์ต่างๆ ไม่ว่าคนจะรับรู้อะไรทางอายตนะใด หรือจะคิดนึกสิ่งใด อาสวะเหล่านี้ ก็เที่ยวกำซาบซ่านไปแสดงอิทธิพล ย้อมมอมมัวสิ่งที่รับรู้เข้ามา และ ความนึกคิดนั้นๆ แทนที่จะเป็นอารมณ์ของจิตและปัญญาล้วนๆ กลับเสมือนเป็นอารมณ์ของอาสวะไปหมด ทำให้ไม่ได้ความรู้ ความคิดที่บริสุทธิ์ และเป็นเหตุก่อทุกข์ ก่อปัญหาเรื่อยไป
โดยอาสวะนั้น เป็นที่มาแห่งพฤติกรรมของมนุษย์ปุถุชนทุกคน เป็นตัวการที่ทำให้มนุษย์หลงผิด มองเห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นตัวตนของตน อันเป็นอวิชชาขั้นพื้นฐานที่สุด แล้วบังคับบัญชาให้นึกคิดปรุงแต่ง แสดงพฤติกรรม และกระทำการต่างๆ ตามอำนาจของมันโดยไม่รู้ตัว เป็นขั้นเริ่มต้นวงจรปฏิจจสมุปบาท คือ เมื่ออาสวะเกิดขึ้น อวิชชาก็เกิด แล้วอวิชชาก็เป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร ในภาวะที่แสดงพฤติกรรมถูกบังคับบัญชา ด้วยสังขาร ที่เป็นแรงขับไร้สำนึกทั้งสิ้น
กามาสวะ คือ ความใฝ่การสนองความต้องการทางประสาททั้ง 5 (ตา หู จมูก ลิ้น กาย)
ภวาสวะ คือ ความใฝ่หรือห่วงในความมีอยู่คงอยู่ของตัวตน ตลอดจนการที่ตัวตนจะได้เป็นอย่างนั้น อย่างนี้ และ การที่จะดำรงคงอยู่ในภาวะที่อยากเป็นนั้นยั่งยืนตลอดไป
ทิฏฐาสวะ คือ ความเห็น ความเชื่อถือ ความเข้าใจ ทฤษฎี แนวความคิดอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่สั่งสมอบรมมา และยึดถือเชิดชูไว้
อวิชชาสวะ คือ ความหลง ความไม่เข้าใจ คือ ความไม่ตระหนักรู้และไม่กำหนดรู้ความเป็นมาเป็นไป เหตุ ผล ความหมาย คุณค่า วัตถุประสงค์ ตลอดจนความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ หรือ เหตุการณ์ทั้งหลาย ตามสภาวะโดยธรรมชาติของมันเอง ความหลงผิดว่ามีตัวตนที่เข้าไปทำ และถูกกระทำกับสิ่งต่างๆ ไม่มองเห็นความสัมพันธ์ทั้งหลายในรูปของกระบวนการแห่งเหตุปัจจัย พูดสั้นๆ ว่า ไม่เห็นตามที่มันเป็น แต่รู้เห็นตามที่คิดว่ามันเป็น หรือคิดให้มันเป็น
ต่อไปเรามาดูกันในรายละเอียดว่า ในแต่ละขั้นตอนของวงจรปฏิจจสมุปบาทนั้น ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง
อวิชชา (Ignorance Lack of Knowledge)
ความไม่รู้ ไม่รู้ตามเป็นจริง การไม่ใช้ปัญญา และเพราะไม่รู้ความจริง ไม่เห็นความจริง ไม่รู้ข้อเท็จจริง ไม่เข้าใจชัดเจน หรือไม่ใช้ปัญญาพินิจพิจารณาในขณะที่ประสบสถานการณ์นั้นๆ จึงคิดปรุงแต่งไปต่างๆ เดาเอาบ้าง คิดวาดภาพเอาเองต่างๆ ฟุ้งเฟ้อวุ่นวายไปบ้าง นึกเห็นมั่นหมายไปตามความเชื่อ ความหวาดระแวง หรือแนวนิสัยของตนที่ได้สั่งสมไว้บ้าง ตลอดจนตั้งใจ คิดมุ่งหมายว่าจะเอาอย่างไร ๆ จะพูดจะทำอะไรๆ เกี่ยวกับเรื่องนั้น
สังขาร (Volitional Activities)
ความคิดปรุงแต่ง เจตน์จำนง จิตนิสัย และทุกสิ่งที่จิตได้สั่งสมอบรมไว้ เมื่อมีเจตนาคิดมุ่งหมายตั้งใจ หรือ ใจเลือกที่จะเกี่ยวข้องกับสิ่งใด หรือ รู้รับอะไรๆ จึงจะเกิด มีวิญญาณ คือ เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น รู้รส รู้สัมผัส รู้คิดต่อเรื่องนั้นๆ สิ่งนั้นๆ โดยเฉพาะเจตนาจักจูงนำจิตนำวิญญาณให้คิด ให้รับรู้ไปในเรื่องที่มันต้องการปรุงแต่งเรื่องไปไม่รู้จักจบสิ้น และพร้อมกันนั้น มันก็จะปรุงแต่งสภาพพื้นเพของจิต หรือ ของวิญญาณนั้น ให้กลายเป็นจิตที่ดีงามหรือชั่วร้าย มีคุณธรรม ไร้คุณธรรม หรือ มีคุณสมบัติต่างๆ ตามแต่เจตนาที่ดี หรือ ชั่วนั้นๆ ด้วย
วิญญาณ (Consciousness)
ความรู้ต่อโลกภายนอก ต่อเรื่องราวในจิตใจ สภาพพื้นจิต
เมื่อมีวิญญาณที่รู้เห็น ได้ยิน เป็นต้น ก็ต้องมีรูปธรรมนามธรรมต่างๆ ที่เป็นตัวร่วมงานร่วมอาศัยกันของวิญญาณนั้น เช่น อวัยวะที่เกี่ยวข้อง เวทนา สัญญา สังขารทั้งหลาย ต่างก็ต้องทำงานร่วมไปด้วยตามหน้าที่ ยิ่งกว่านั้น วิญญาณขณะนั้นถูกปรุงแต่งให้เป็นอย่างไร นามธรรมรูปธรรมทั้งหลายที่แสดงตัวออกมาร่วมงานในขณะนั้นๆ ก็จะมีแต่จำพวกที่เป็นทำนองนั้น หรือ พลอยมีคุณสมบัติอย่างนั้นไปด้วย เช่นเมื่อวิญญาณ ประกอบด้วยสังขารจำพวกโกรธ เป็นตัวปรุงแต่ง สัญญาที่ออกโรงด้วย ก็จะเป็นสัญญาเกี่ยวกับ ถ้อยคำหยาบคาย คำด่า ตลอดจนมีดพร้าอาวุธเป็นต้น รูปธรรม เช่น หน้าตาก็จะบูดบึ้ง กล้ามเนื้อเขม็งเครียด เลือดไหลฉีดแรง เวทนาก็บีบคั้น เป็นทุกข์ เป็นต้น เมื่อวิญญาณเป็นไปในสภาพอย่างใดซ้ำบ่อย นามธรรมและรูปธรรม ที่เกิดดับสืบต่อก็จะก่อเป็นลักษณะกายใจจำเพาะตัวที่เรียกว่าบุคลิกภาพอย่างนั้น
นามรูป (Animated Organism)
องคาพยพ ส่วนประกอบของชีวิต ทั้งกายและใจ
เมื่อนามรูปตื่นตัวทำงานพร้อมอยู่ในรูปแบบ ลักษณะ หรือ ทิศทาง อย่างใดอย่างหนึ่งนั้น มันต้องอาศัยบริการของอายตนะใดๆ เป็นสื่อป้อนความรู้หรือเป็นช่องทางดำเนินพฤติกรรม อายตนะนั้นๆ ก็จะถูกปลุกเร้าให้พร้อมในการทำหน้าที่
สฬายตนะ (The Six Sense Bases)
สื่อแห่งการรับรู้ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
เมื่ออายตนะต่างๆ มี ผัสสะ การรับรู้รับอารมณ์ด้านต่างๆ เหล่านั้นจึงมีได้ เมื่ออายตนะใดทำหน้าที่ ก็มีผัสสะคือการรับรู้รับอารมณ์ โดยอาศัยอายตนะนั้นได้
ผัสสะ (Contact)
การรับรู้ การติดต่อกับโลกภายนอก การประสบอารมณ์
เมื่อมีการรับรู้อารมณ์นั้นแล้ว ก็ต้องมีความรู้สึกที่เป็นเวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่สุขสบาย ก็ทุกข์ ไม่สบาย หรือ ไม่ก็เฉยๆ
เวทนา (Feeling)
การรู้สึกสุข ทุกข์ สบาย ไม่สบาย หรือเฉยๆ
เมื่อรับรู้อารมณ์ใด ได้ความสุขสบายชื่นใจ ก็ชอบใจ ติดใจ อยากได้อารมณ์นั้น เกิดเป็นกามตัณหา อยากคงอยู่ อยากเข้าอยู่ในภาวะที่จะได้ครอบครองเสวยสุขเวทนาจากอารมณ์นั้น เกิดเป็นภวตัณหา เมื่อรับรู้อารมณ์ใด เกิดความทุกข์บีบคั้นไม่สบาย ก็เกลียดชัง ขัดใจ อยากพรากอยากพ้น อยากกำจัด ทำให้สูญหายไป เกิดเป็นวิภวตัณหา ถ้ารู้สึกเฉยๆ ก็เรื่อยๆ ซึมๆ เพลินๆ อยู่ในโมหะ และติดอยากได้สุข เวทนาอ่อนๆ พร้อมที่จะขยายออกเป็นความอยากได้สุขเวทนาต่อไป
ตัณหา (Craving)
ความอยาก คือ อยากได้ อยากเป็น อยากคงอยู่ต่อไป อยากเลี่ยง หรือ ทำลาย
เมื่อความอยากนั้นแรงขึ้น ก็กลายเป็นยึดติด เหมือนจับถือค้างอยู่ในใจ วางไม่ลง เกิดมีท่าทีขึ้นมาอย่างใดอย่างหนึ่งต่อสิ่งนั้น ถ้าชอบ ก็เอาตัวตนเข้าไปผูกติดเหมือนดังเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับมัน ใจคล้อยตามมันไป อะไรเกี่ยวกับมันเป็นเห็นดีเห็นงามไปหมด อะไรกระทบมันเป็นกระทบถึงเราด้วย ถ้าชัง ก็เกิดความรู้สึกปะทะกระทบเหมือนดังเป็นตัวปรปักษ์คู่กรณีกับตน อะไรเกี่ยวกับสิ่งนั้น บุคคลนั้น หรือ ภาวะนั้น ให้รู้สึกกระทบกระแทกขัดผลักผละอยู่เรื่อย ไม่เห็นดีไม่เห็นงาม มันขยับเขยื้อนทำอะไร เป็นดังกระทำต่อเราไปหมด พร้อมกันนี้ ท่าทีไม่ว่าในทางชอบหรือในทางชังก็ตาม ย่อมเป็นเครื่องเสริมย้ำและเป็นไปด้วยกันกับความยึดติดถือมั่นเชิดชูคุณค่าความสำคัญของสิ่งต่อไปนี้ คือ สิ่งปรนเปรออำนวยความสุขที่จะถูกได้ หรือ ถูกขัด ถูกแย่ง (กาม) ความเห็น ความเข้าใจ เกี่ยวกับสิ่งทั้งหลายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนเกี่ยวกับโลกและชีวิต (ทิฏฐิ) ระบบแบบแผน ข้อปฏิบัติ พิธีกรรม วิธีการต่างๆ ที่จะให้บรรลุผลสำเร็จทั้งในทางที่จะได้และที่จะเลี่ยงพ้น (ศีลวัตร) และความรู้สึกเกี่ยวกับตัวตนที่จะได้ หรือ ที่ถูกปะทะขัดขวาง (อัตตวาท)
อุปาทาน (Attachment, Clinging)
ความยึดติดถือมั่น ความผูกพันถือค้างไว้ในใจ การถือรวมเข้ากับตัว
เมื่อมีความยึดถือ มีท่าทีต่อสิ่ง บุคคล หรือภาวะอันใดอันหนึ่ง อย่างหนึ่งอย่างใด คนก็สร้างภพหรือ ภาวะชีวิตของเขาขึ้นตามความยึดถือ หรือ ท่าทีอย่างนั้น ทั้งในด้านกระบวนพฤติกรรมทั้งหมด (กรรมภพ) เริ่มแต่ระบบความคิด หรือ นิสัยของความคิดออกมา และในด้านบุคลิกภาพ ทั้งรูปและนามธรรมที่เป็นลักษณะหรือภาวะแห่งชีวิตของเขาในเวลานั้น (อุปัตติภพ) เช่น กระบวนพฤติกรรม และบุคลิกภาพของคนอยากร่ำรวย คนชอบอำนาจ คนชอบเด่นดัง คนชอบสวยงาม คนชอบโก้เก๋ คนเกลียดสังคม เป็นต้น
ภพ (Process of Becoming)
ภาวะชีวิตที่เป็นอยู่ เป็นไป บุคลิกภาพ กระบวนพฤติกรรมทั้งหมดของบุคคล
เมื่อเกิดมีภพ ที่จะเข้าอยู่เข้าครอบครองเฉพาะตัวแล้ว ก็ปรากฏตัวตน เป็นความรู้สึกตระหนักอันชัดเจน ที่เข้าอยู่ครอบครองหรือสอดสวมรับเอาภพ หรือ ภาวะชีวิตนั้น โดยมีอาการถือหรือออกรับว่าเป็นเจ้าของภพ เป็นผู้เสวยผล เป็นผู้กระทำ เป็นผู้รับการกระทบกระแทก เป็นผู้ชนะ ผู้แพ้ เป็นผู้ได้ ผู้เสีย เป็นต้น อยู่ในภพนั้น
ชาติ (Birth)
การเกิดมีตัวที่คอยออกรู้ออกรับเป็นผู้อยู่ในภาวะชีวิตนั้น เป็นเจ้าของบทบาท ความเป็นอยู่เป็นไป
เมื่อเกิดมีตัวตน เข้าอยู่ครอบครอง หรือ ภาวะชีวิตนั้นแล้ว การที่จะได้ประสบความเป็นไป ทั้งในทางเสื่อมถอยด้อยลงในภพนั้น การถูกกระแทกระเทือนและการที่จะสูญเสียหลุดหล่นออกไปจากภพนั้นด้วย โดยเฉพาะ ที่ต้องถูกคุกคามห่วงกังวลเกี่ยวกับความเสื่อมสูญจากภพนั้น และ การที่จะต้องคอยรักษาภพนั้นอยู่ตลอดเวลา ความลดด้อยถอยเสื่อมสูญเสีย และการคอยถูกคุกคามเหล่านี้ ล้วนนำ โสกะ ปริเทวะ เป็นต้น คือ ความทุกข์มาให้ได้ตลอดทุกเวลา
ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส (Decay and Death)
การประสบความเสื่อม ความไม่มั่นคง ความสูญเสียจบสิ้นแห่งการที่ตัวได้อยู่ ครอบครองภาวะชีวิตนั้นๆ ความเศร้าเสียใจ เหี่ยวแห้งใจ คร่ำครวญ หวนไห้ เจ็บปวดรวดร้าว น้อยใจ สิ้นหวัง คับแค้นใจ คือ อาการหรือรูปต่างๆของความทุกข์ อันเป็นของเสียมีพิษที่คั่งค้างหมักหมม กดดันอั้นอยู่ภายใน ซึ่งคอยจะระบายออกมา เป็นทั้งปัญหา และ ปมก่อปัญหาต่อๆไป
 สรุป
สรุปก็คือ ภาวะที่เป็นอวิชชา ก็คือ การไม่มองเห็นไตรลักษณ์ โดยเฉพาะความเป็นอนัตตา ตามแนวปฏิจจสมุปบาท คือ ไม่รู้ตระหนักว่า สภาพที่ถือกันว่า เป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา นั้น เป็นเพียงกระแสแห่งรูปธรรมนามธรรม ส่วนย่อยต่างๆ มากมาย ที่สัมพันธ์เนื่องอาศัยเป็นเหตุเป็นปัจจัยสืบต่อกัน โดยอาการเกิดสลายๆ ทำให้กระแสนั้นอยู่ในภาวะที่กำลังแปรรูปอยู่ตลอดเวลา
หรือ พูดให้ง่ายขึ้นว่า บุคคลก็คือผลรวมแห่งความรู้สึกนึกคิด ความปรารถนา ความเคยชิน ความโน้มเอียง ทัศนคติ ความรู้ ความเข้าใจ ความเชื่อถือ ความคิดเห็น ความรู้สึกในคุณค่าต่างๆ ทั้งหมดในขณะนั้นๆ เป็นผลมาจากการถ่ายทอดทางวัฒนธรรม การศึกษาอบรม และปฏิกิริยาต่างๆ ทั้งที่เกิดขึ้นภายใน และ ที่มีต่อสิ่งแวดล้อมทั้งหลาย อันกำลังดำเนินไปอยู่ตลอดเวลา เมื่อไม่ตระหนักรู้เช่นนี้ จึงยึดถือเอาสิ่งเหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นตัวตนของตน ในขณะหนึ่งๆ เมื่อยึดถือสิ่งเหล่านี้เป็นตัวตน ก็คือถูกสิ่งเหล่านั้นหลอกเอา จึงเท่ากับตกอยู่ในอำนาจของมัน ถูกมันชักจูงบังคับเอาให้เห็นว่า ตัวตนนั้นเป็นไปต่างๆ พร้อมทั้งความเข้าใจว่า ตนเองกำลังทำการต่างๆ ตามความต้องการของตน เป็นต้น

 ลองคลิกไปฟัง ธรรมบรรยาย เรื่อง หลักปฏิบัติเกี่ยวกับปฏิจจสมุปบาท ตอนที่ 1/5 โดยท่านพุทธทาสภิกขุ ณ สวนโมกขพลาราม วัดธารน้ำไหล เมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๑๔

นอกจากนี้ ยังมีอีก 1 กฎ ที่ถือว่า เป็นกฎใหญ่กว่า ปฏิจจสมุปปบาท เป็นกฎแห่งจักรวาล กฎแห่งธรรมชาติ กฎแห่งความเป็นจริง นั่นก็คือ กฎของอิทัปปัจจยตา นั่นเอง
 แหล่งข้อมูล

ทวนความรู้สึก



ปฏิบัติธรรมแล้วถ้ารู้สึกเบื่อครอบครัวเบื่อโลกเบื่อสงสาร อย่าไปเชื่อความรู้สึกของตัวเอง ถ้ามันเบื่อดูไปจนมันหายเบื่อ แต่ถ้าหากพอปฏิบัติธรรมได้ธรรมเห็นธรรมแล้วนี่ มันทำให้รู้สึกเคารพบูชาพ่อแม่ปู่ย่าตายาย เมตตาสงสารครอบครัว แล้วความรักระหว่างครอบครัวของเรานี่ ทีแรกเรารักด้วยกิเลสตัณหา แต่มาภายหลังจะเหลือแต่ความเมตตาปราณี แล้วเราจะทอดทิ้งซึ่งกันและกันไม่ได้ ยิ่งปฏิบัติไปเท่าไร ความเมตตาปราณีมันก็ยิ่งเพิ่มขึ้น เราจะอยู่ด้วยกันโดยไม่มีความหมายใดๆ ทั้งสิ้นเกี่ยวกับทางเรื่องของกิเลส เราจะมีอะไรต่อกัน หรือไม่มีอะไรต่อกัน เราจะอยู่กันได้อย่างสบายเพราะ ความรักและความเมตตาปราณีนี่เป็นความรักที่บริสุทธิ์สะอาด ถ้าความรู้สึกอันนี้เกิดขึ้นในบรรดาพ่อแม่พี่น้องทั้งหลายแล้ว สันนิษฐานได้ว่าเราปฏิบัติธรรมได้ผลแต่ถ้าปฏิบัติแล้วเบื่อโลกสงสารอยากโกนหัวไปบวช อย่าเพิ่งเชื่อมัน อันนั้นแหละตัวมารร้ายที่สุด บางทีเราหลงเชื่อมัน เราทิ้งครอบครัวไป ไปแล้วในเมื่อมันหายเบื่อแล้วมันก็ไปเจอข้างหน้า ไปมีข้างหน้าอีก สามีของพยาบาลคนหนึ่ง หลวงพ่อไปเทศน์ แกไปโอดครวญกับหลวงพ่ออยู่นั่น เขาบอกว่าสามีของเขาเคยไปปฏิบัติธรรมอยู่ที่วัดหลวงพ่อ หลวงพ่อรู้จักไหม เออ...ช่วงนี้หลวงพ่อก็ไม่ค่อยได้อยู่วัดนะ แต่ก็มีอยู่อุบาสกหลายๆท่านไปปฏิบัติอยู่นั่น แต่ก็ไม่ทราบว่าเป็นใคร แล้วเดี๋ยวนี้เขาไปยังไง ปรากฏว่าเขาไปมีครอบครัวใหม่อยู่ต่างจังหวัด มาขนเอาแต่เงินทองที่บ้านไปสร้างบ้านให้เมียใหม่อยู่ อันนี้เป็นตัวอย่าง ในเมื่อเราไปด้วยความเบื่อ ในเมื่อมันหายเบื่อแล้วมันไปเกิดชอบ นักวิปัสสนานี่ความเห็นมันดิ่ง เมื่อมันปักลงไปแล้วมันถอนยาก เพราะฉะนั้น ถ้ามันเกิดเบื่อ ดูความเบื่อให้มันจนหายเบื่อ
หลวงพ่อบวชมาตั้งแต่อายุ ๑๔ ปี ความตั้งใจว่าจะบวชตลอดชีวิต แหม... ถึงเวลามันอยากสึกมา นอนร้องไห้ เอ้า... อะไรที่มันอยากเราจะไม่กินมัน แม้แต่ของตกลงในบาตร ถ้ามองดูแล้วมันชอบ น้ำลายไหล หยิบออก อะไรที่มันไม่ชอบที่สุด เอาอันนั้นแหละมาฉัน เราไม่กินเพื่ออร่อย เรากินเพื่อคุณค่าทางอาหาร อะไรที่มันจะเป็นคุณค่าทางอาหาร เราจะเอาสิ่งนั้น แม้ว่าเราจะไม่ชอบก็ตาม ทีนี้คนที่เรารักเราชอบเราจะไม่เข้าใกล้ เราจะเข้าใกล้คนที่เกลียดขี้หน้าเราที่สุด ถ้าใครด่า ครูบาอาจารย์องค์ไหนด่ามากๆ เราเข้าหาองค์นั้น องค์ไหนยกย่องสรรเสริญเราไม่เข้าใกล้ ครูบาอาจารย์บางองค์ว่า... พระองค์นี้มันจองหอง เราอุตส่าห์เมตตาสงสารมัน มันไม่เข้าใกล้เรา มันเข้าไปหาแต่คนที่ด่ามันเก่งๆ
คนด่านั่นแหละ...หลวงปู่มั่น เวลาลูกศิษย์ไปขออาศัยทีแรกนี่ ท่านจะดุ...ดุ ทำถูกก็ดุ ทำผิดก็ดุ ภายใน ๑ ปีนี่ต้องทุบกันเสียจนแหลกละเอียด แต่พอ๑ ปีผ่านไป ถ้าผู้ที่โดนนี่ไม่หลบหน้าหนี มีอะไรถ่ายทอดให้หมด นี่ครูบาอาจารย์ที่ดุเก่งๆ นี่ เวลาท่านดีกับเราแล้ว ก็เรียนถามท่านว่า ขอโอกาสเถอะ เมื่อกระผมมาอยู่กับท่านอาจารย์ ทีแรกทำไมท่านถึงได้ดุนักหนา ท่านว่าไง เขาจะตีเหล็กให้มันเป็นมีดเป็นพร้า เขาจะต้องเผาไฟให้มันร้อน แล้วก็ลงตะเนินหนักๆ เอาฆ้อนเล็กๆ มาทุบ มันจะเป็นมีดเป็นพร้าได้ยังไง ต้องเผาให้ร้อน เอาตะเนินหนักๆ ขนาด ๘ ปอนด์นั่นห้ำมันลงไป มันก็เหยียดออกมาเป็นมีดเป็นพร้าที่สวยงามได้ ท่านว่าอย่างนี้ เมื่อก่อนนี้ยังข้องใจอยู่ว่าทำไมท่านถึงดุ พอท่านชี้แจงให้ฟังแล้ว อ้อเราโล่งอก เพราะฉะนั้นเราได้ดีเพราะอาจารย์ดุ อาจารย์ที่สรรเสริญอะไรนี่ นั่นแหละท่านเอายาพิษเคลือบน้ำตาลให้เรากิน ฉะนั้นจึงได้ถือคติว่า ญาติโยมคนใดพอมาถึงแล้วก็มายกย่องสรรเสริญเยินยอเคารพเลื่อมใสอย่างนั้นอย่างนี้ เท่าที่สังเกตมา หลวงพ่อนี่กลัวที่สุด ถ้าคนไหนมาแล้วก็มามองๆ... พระองค์นี้ใช้ไม่ได้ อยากจะสะพายบาตรวิ่งตามหลัง เสร็จแล้วพวกที่เขาเข้าใจดีนี่ ถึงไหนถึงกัน
หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
วัดป่าสาลวัน อ.เมือง จ.นครราชสีมา

Citibank พร้อมให้คุณเลือกบัตรและสินเชื่อที่เหมาะกับคุณวันนี้ สินเชื่อบุคคล เรดดี้เครดิต บัตรเครดิตซิตี้แบงก์ ซีเล็คท์ บัตรเครดิตซิตี้แบงก์ รีวอร์ด บัตรเครดิตซิตี้แบงก์ แคชแบ็ก แพลตตินั่ม บัตรเครดิตซิตี้แบงก์ รอยัล ออร์คิด พลัส พรีเฟอร์ บัตรเครดิตซิตี้แบงก์ รอยัล ออร์คิด พลัส ซีเล็คท์ บัตรเครดิตซิตี้เอ็ม วีซ่า ซีเล็คท์ บัตรเครดิตซิตี้เอ็ม วีซ่า รีวอร์ด บัตรเครดิตซิตี้แบงก์-บิ๊กซี วีซ่า แพลตตินั่ม บัตรเครดิตซิตี้แบงก์ แม็คโคร แพลตตินั่ม รีวอร์ด



Thursday, May 7, 2015

กรรม


ในพระพุทธศาสนา กรรม
(สันสกฤต: กรฺม, บาลี: กมฺม) แปลว่า "การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา" ได้แก่ กระทำทางกาย เรียก กายกรรม ทางวาจา เรียก วจีกรรม และทางใจ เรียก มโนกรรม


กรรม แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
กรรมดี เรียกว่า กุศลกรรม หรือ บุญกรรม
กรรมชั่ว เรียกว่า อกุศลกรรม หรือ บาปกรรม
1. กรรม 2
2. การจำแนกประเภทของกรรม
2.1 จำแนกตามเวลาการให้ผลของกรรม
2.2 จำแนกตามหน้าที่ของกรรม
2.3 จำแนกลำดับการให้ผลของกรรม
2.4 จำแนกตามฐานที่ให้เกิดผลของกรรม
3. กรรมดำ กรรมขาว
4. กฎแห่งกรรม
กรรม 2
กรรม 2 (การกระทำ, การกระทำที่ประกอบด้วยเจตนา ทางกายก็ตาม ทางวาจาก็ตาม ทางใจก็ตาม)
อกุศลกรรม
(กรรมที่เป็นอกุศล, กรรมชั่ว, การกระทำที่ไม่ดี ไม่ฉลาด ไม่เกิดจากปัญญา ทำให้เสื่อมเสียคุณภาพชีวิต หมายถึง การกระทำที่เกิดจากอกุศลมูล คือ โลภะ โทสะ
หรือ โมหะ)
กุศลกรรม
(กรรมที่เป็นกุศล, กรรมดี, การกระทำที่ดี ฉลาด เกิดจากปัญญา ส่งเสริมคุณภาพของชีวิตจิตใจ หมายถึง การกระทำที่เกิดจากกุศลมูล คือ อโลภะ อโทสะ
หรือ อโมหะ)
การจำแนกประเภทของกรรม
กรรมดี หรือ กรรมชั่วก็ตาม กระทำทางกาย วาจา หรือทางใจก็ตาม สามารถจำแนกอีก เป็นประเภทต่าง ๆ ได้หลายแบบ ดังนี้
กรรมจำแนกตามเวลาการให้ผลของกรรม (ปากกาลจตุกะ) 4 อย่าง
กรรมจำแนกตามหน้าที่ของกรรม (กิจจตุกะ) 4 อย่าง
กรรมจำแนกตามลำดับการให้ผลของกรรม (ปากทานปริยายจตุกะ) 4 อย่าง
กรรมจำแนกตามฐานที่ให้เกิดผลของกรรม (ปากฐานจตุกะ) 4 อย่าง
กรรมจำแนกตามเวลาการให้ผลของกรรม
การกระทำทางกาย วาจา ใจ ทั้งที่เป็นฝ่ายดีหรือไม่ดีก็ตาม ย่อมตอบสนองแก่ผู้กระทำ ไม่เร็วก็ช้า เวลาใดเวลาหนึ่ง กรรมจำแนกตามเวลาการให้ผลของกรรม
(ปากกาลจตุกะ) แสดงกำหนดเวลา แห่งการให้ผลของกรรม มี 4 อย่าง คือ
ทิฏฐธรรมเวทนียกรรม หมายถึง กรรมที่ให้ผลในปัจจุบัน คือในภพนี้
อุปปัชชเวทนียกรรม หมายถึง กรรมที่ให้ผลในภพที่จะไปเกิด คือในภพหน้า
อปราปริเวทนียกรรม หมายถึง กรรมที่ให้ผลในภพต่อ ๆ ไป
อโหสิกรรม หมายถึง กรรมเลิกให้ผล ไม่มีผลอีก
กรรมจำแนกตามหน้าที่ของกรรม
กรรมจำแนกตามหน้าที่การงานของกรรม (กิจจตุกะ) กรรมมีหน้าที่ ที่จะต้องกระทำสี่อย่าง คือ
ชนกกรรม หมายถึง กรรมที่เป็นตัวนำไปเกิด กรรมแต่งให้เกิด
อุปัตถัมภกกรรม หมายถึง กรรมสนับสนุน กรรมที่ช่วยสนับสนุนหรือซ้ำเติม ต่อจากชนกกรรม
อุปปีฬิกกรรม หมายถึง กรรมบีบคั้น กรรมที่มาให้ผล บีบคั้นผลแห่งชนกกรรมและอุปัตถัมภกกรรมนั้น ให้แปรเปลี่ยนทุเลาลงไป บั่นทอนวิบากมิให้เป็นไปได้นาน
อุปฆาตกกรรม หมายถึง กรรมตัดรอน กรรมที่แรงฝ่ายตรงข้ามกับชนกกรรมและอุปัตถัมภกกรรม เข้าตัดรอนการให้ผลของกรรมทั้งสองอย่างนั้น ให้ขาดไปเสียทีเดียว
...กรรมจำแนกลำดับการให้ผลของกรรม...
กรรมจำแนกตามลำดับการให้ผลของกรรม (ปากทานปริยายจตุกะ) จำแนกตามความยักเยื้อง หรือ ลำดับความแรงในการให้ผล 4 อย่าง
ครุกกรรม (หนังสือพุทธธรรมสะกดครุกกรรม หนังสือกรรมทีปนีสะกดครุกรรม) หมายถึง กรรมหนัก ให้ผลก่อน เช่น ฌานสมาบัติ 8 หรือ อนันตริยกรรม
พหุลกรรม หรือ อาจิณกรรม หมายถึง กรรมที่ทำมาก หรือ ทำจนเคยชิน ให้ผลรองจากครุกรรม
อาสันนกรรม หมายถึง กรรมจวนเจียน หรือ กรรมใกล้ตาย คือกรรมที่ทำเมื่อจวนจะตาย จับใจอยู่ใหม่ ๆ ถ้าไม่มีสองข้อก่อน ก็จะให้ผลก่อนอื่น
กตัตตากรรม หรือ กตัตตาวาปนกรรม หมายถึง กรรมอื่นที่เคยทำไว้แล้ว นอกจากกรรม 3 อย่างข้างต้น, ฏีกากล่าวว่า กรรมนี้ให้ผลในชาติที่ 3 เป็นต้นไป (กตตฺตา-สิ่งที่เคยทำไว้, วา ปน-ก็หรือว่า, กมฺม-กรรม) กตัตตากรรมนี้ ในตำราทางพุทธศาสนาหลายแห่ง (เช่น หนังสือกรรรมทีปนี พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลธรรม และหนังสือพุทธธรรมฉบับขยายความ) ได้บรรยายไว้ว่า หมายถึง กรรมสักแต่ว่าทำ กรรมที่ทำไว้ด้วยเจตนาอันอ่อน หรือมิใช่เจตนาอย่างนั้นโดยตรง ต่อเมื่อไม่มีกรรมอันอื่นให้ผลแล้ว กรรมนี้จึงจะให้ผล
...กรรมจำแนกตามฐานที่ให้เกิดผลของกรรม...
กรรมจำแนกตามฐานที่ให้เกิดผลของกรรม (ปากฐานจตุกะ) แสดงที่ตั้งแห่งผลของกรรมสี่อย่าง เป็นการแสดงกรรมโดยอภิธรรมนัย (ข้ออื่น ๆ ข้างต้นเป็นการแสดงกรรมโดยสุตตันตนัย)
อกุศลกรรม...
กามาวจรกุศลกรรม
รูปาวจรกุศลกรรม
อรูปาวจรกุศลกรรม
กรรมดำ กรรมขาว...
นอกจากเรื่องของกรรมดีกรรมชั่วแล้ว ยังมีการอธิบายกรรมอีกนัยหนึ่ง โดยอธิบายถึงกรรมดำกรรมขาว จำแนกเป็นกรรม 4 ประการ คือ
กรรมดำมีวิบากดำ ได้แก่ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่งกาย วาจา ใจ อันมีความเบียดเบียนบุคคลอื่น ย่อมได้เสวยเวทนาที่มีความเบียดเบียน เป็นทุกข์โดยส่วนเดียว เช่น เป็นผู้ฆ่ามารดา ฆ่าบิดา ฆ่าพระอรหันต์ มีจิตประทุษร้ายต่อพระตถาคต ยังพระโลหิตให้ห้อขึ้น ทำลายสงฆ์ให้แตกกัน ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม พูดเท็จ ดื่มน้ำเมา
กรรมขาวมีวิบากขาว ได้แก่ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่งกาย วาจา ใจ อันมีไม่ความเบียดเบียนบุคคลอื่น ย่อมได้เสวยเวทนาที่ไม่มีความเบียดเบียน เป็นสุขโดยส่วนเดียว เช่น เป็นผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ จากการลักทรัพย์ จากการประพฤติผิดในกาม จากการพูดเท็จ จากการพูดส่อเสียด จากการพูดคำหยาบ จากการพูดเพ้อเจ้อ ไม่มากไปด้วยความเพ่งเล็งอยากได้ มีจิตไม่พยาบาท มีความเห็นชอบ
กรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำทั้งขาว ได้แก่ บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมปรุงแต่งกาย วาจา ใจ อันมีความเบียดเบียนบุคคลอื่นบ้าง ไม่ความเบียดเบียนบุคคลอื่นบ้าง ย่อมได้เสวยเวทนาที่มีความเบียดเบียนบ้าง ไม่ความเบียดเบียนบ้าง มีทั้งสุขและทั้งทุกข์ระคนกัน
กรรมไม่ดำไม่ขาวมีวิบากไม่ดำไม่ขาว ได้แก่ เจตนาใดเพื่อละกรรมดำอันมีวิบากดำ เจตนาใดเพื่อละกรรมขาวอันมีวิบากขาว และเจตนาใดเพื่อละกรรมทั้งดำทั้งขาวมีวิบากทั้งดำทั้งขาว ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นกรรม เช่น ผู้ปฏิบัติตามมรรคมีองค์แปด โพชฌงค์เจ็ด
กฎแห่งกรรม....
กฎแห่งกรรม คือ กฎธรรมชาติ ข้อหนึ่ง ที่ว่าด้วยการกระทำ และผลแห่งการกระทำ ซึ่ง การกระทำและ ผลแห่งการกระทำนั้น ย่อมสมเหตุ สมผลกัน เช่น ทำดี ย่อมได้รับผลดี ทำชั่ว ย่อมได้รับผลชั่ว เป็นต้น
กรรมใดใครก่อ ตนเองเท่านั้นที่จะได้รับผลของสิ่งที่กระทำ
กรรมในปัจจุบันเป็นผลมาจากการกระทำในอดีต และกรรมที่ก่อไว้ในปัจจุบันเป็นเหตุที่จะส่งผลสืบเนื่องต่อไปยังอนาคต
กรรมดี-กรรมชั่ว ลบล้างซึ่งกันและกันไม่ได้
ถึงแม้ว่าการทำกรรมดีจะลบล้างกรรมชั่วเก่าที่มีอยู่เดิมไม่ได้ แต่มีส่วนช่วยให้ผลจากกรรมชั่วที่มีอยู่เดิมผ่อนลง คือ การผ่อนหนักให้เป็นเบา (ข้อนี้ อุปมาได้กับ การที่เรามีน้ำขุ่นข้นอยู่แก้วหนึ่ง หากเติมน้ำบริสุทธิ์ลงไปแล้ว มิสามารถทำให้น้ำขุ่นกลับบริสุทธิ์ได้ แต่ทำให้น้ำขุ่นข้นนั้นกลับเจือจางลงและใสยิ่งขึ้นกว่าเดิม)
สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตน เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กรรมย่อมจำแนกสัตว์ให้เลวและประณีตได้
กมฺมุนา วตฺตติโลโก สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม

— พุทธสุภาษิต