Sunday, December 28, 2014

..............(สังเวคปริกิตตนปาฐะ)..........


...................(สังเวคปริกิตตนปาฐะ)..........
พระตถาคตเจ้าเกิดขึ้นแล้วในโลกนี้ ;
เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง ;
และพระธรรมที่ทรงแสดงเป็นธรรมเครื่องออกจากทุกข์ ;
เป็นเครื่องสงบกิเลส, เป็นไปเพื่อปรินิพพาน ;
เป็นไปเพื่อความรู้พร้อม, เป็นธรรมที่พระสุคตประกาศ ;
พวกเราเมื่อได้ฟังธรรมนั้นแล้ว, จึงได้รู้อย่างนี้ว่า : -
แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์ ;
แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์ ;
แม้ความตายก็เป็นทุกข์ ;
แม้ความโศกความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกายความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจก็เป็นทุกข์ ;
ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์ ;
ความพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์ ;
มีความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นนั่นก็เป็นทุกข์ ;
ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์ ;
ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ :-
ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือรูป ;
ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือเวทนา ;
ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือสัญญา ;
ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือสังขาร ;
ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือวิญญาณ ;
เพื่อให้สาวกกำหนดรอบรู้อุปาทานขันธ์เหล่านี้เอง,
พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เมื่อยังทรงพระชนม์อยู่,
ย่อมทรงแนะนำสาวกทั้งหลาย เช่นนี้เป็นส่วนมาก ;
อนึ่ง คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น, ส่วนมากย่อมเป็นไปในสาวกทั้งหลาย, มีการจำแนกอย่างนี้ว่า :-
รูปไม่เที่ยง ;
เวทนาไม่เที่ยง ;
สัญญาไม่เที่ยง ;
สังขารไม่เที่ยง ;
วิญญาณไม่เที่ยง ;
รูปไม่ใช่ตัวตน ;
เวทนาไม่ใช่ตัวตน ;
สัญญาไม่ใช่ตัวตน ;
สังขารไม่ใช่ตัวตน ;
วิญญาณไม่ใช่ตัวตน ;
สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง..
ธรรมทั้งหลายทั้งปวงไม่ใช่ตัวตนดังนี้.
พวกเราทั้งหลาย เป็นผู้ถูกครอบงำแล้ว ;
โดยความเกิด ;
โดยความแก่และความตาย ;
โดยความโศกความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกายความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจทั้งหลาย ;
เป็นผู้ถูกความทุกข์หยั่งเอาแล้ว ;
เป็นผู้มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้าแล้ว ;
ทำไฉน การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ จะพึ่งปรากฏชัดแก่เราได้.
เราทั้งหลาย ผู้ถึงแล้วซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ปรินิพพานนานแล้วพระองค์นั้นเป็นสรณะ ;
ถึงพระธรรมด้วย, ถึงพระภิกษุสงฆ์ด้วย ;
จักทำในใจอยู่ ปฏิบัติตามอยู่ ซึ่งคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นตามสติกำลัง ;
ขอให้ความปฏิบัตินั้น ๆ ของเราทั้งหลาย ;

จงเป็นไปเพื่อการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ เทอญ.

..........( รตนัตตยัปปณามคาถา)............


..........( รตนัตตยัปปณามคาถา)............
พระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้บริสุทธิ์ มีพระกรุณาดุจห้วงมหรรณพ ;
พระองค์ใด มีตาคือญาณอันประเสริฐหมดจดถึงที่สุด ;
เป็นผู้ฆ่าเสียซึ่งบาป และอุปกิเลสของโลก ;
ข้าพเจ้าไหว้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ.
พระธรรมของพระศาสดา สว่างรุ่งเรืองเปรียบดวงประทีป ;
จำแนกประเภท คือ มรรค ผล นิพพาน, ส่วนใด
ซึ่งเป็นตัวโลกุตตระ, และส่วนใดที่ชี้แนวแห่งโลกุตตระนั้น ;
ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมนั้น โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ.
พระสงฆ์เป็นนาบุญอันยิ่งใหญ่กว่านาบุญอันดีทั้งหลาย ;
เป็นผู้เห็นพระนิพพาน, ตรัสรู้ตามพระสุคตหมู่ใด ;
เป็นผู้ละกิเลสเครื่องโลเล เป็นพระอริยเจ้ามีปัญญาดี ;
ข้าพเจ้าไหว้พระสงฆ์หมู่นั้น โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ.
บุญใดที่ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งพระรัตนตรัยอันควรบูชายิ่งโดยส่วนเดียว, ได้กระทำแล้วเป็นอย่างยิ่งเช่นนี้,
ขออุปัททวะ (ความชั่ว) ทั้งปวง จงอย่ามีแก่ข้าพเจ้าเลย,

ด้วยอำนาจความสำเร็จอันเกิดจากบุญนั้น.

Saturday, December 27, 2014

........หลักปฏิบัติอานาปานสติปาฐะ...........


ภิกษุนั้น ย่อมทำในบทศึกษาว่า
เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ จักหายใจเข้า ดังนี้ ;
ย่อมทำในบทศึกษาว่า
เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความไม่เที่ยงอยู่เป็นประจำ จักหายใจออก ดังนี้ ;
ภิกษุนั้น ย่อมทำในบทศึกษาว่า
เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ จักหายใจเข้า ดังนี้ ;
ย่อมทำในบทศึกษาว่า
เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความจางคลายอยู่เป็นประจำ จักหายใจออก ดังนี้
ภิกษุนั้น ย่อมทำในบทศึกษาว่า
เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ จักหายใจเข้า ดังนี้
ย่อมทำในบทศึกษาว่า
เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความดับไม่เหลืออยู่เป็นประจำ จักหายใจออก ดังนี้ ;
ภิกษุนั้น ย่อมทำในบทศึกษาว่า
เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ จักหายใจเข้า ดังนี้ ;
ย่อมทำในบทศึกษาว่า
เราเป็นผู้ตามเห็นซึ่งความสลัดคืนอยู่เป็นประจำ จักหายใจออก ดังนี้ ;
(จบ จตุกกะที่สี่)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย,
อานาปานสติอันบุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว อย่างนี้แล ;
ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ;

ด้วยประการฉะนี้แล.

........หลักปฏิบัติอานาปานสติปาฐะ...........


ภิกษุนั้น ย่อมทำในบทศึกษาว่า
เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต จักหายใจเข้า ดังนี้ ;
ย่อมทำในบทศึกษาว่า
เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิต จักหายใจออกดังนี้ ;
ภิกษุนั้น ย่อมทำในบทศึกษาว่า
เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่จักหายใจเข้า ดังนี้ ;
ย่อมทำในบทศึกษาว่า
เราเป็นผู้ทำจิตให้ปราโมทย์ยิ่งอยู่ จักหายใจออก ดังนี้ ;
ภิกษุนั้น ย่อมทำในบทศึกษาว่า
เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ จักหายใจเข้า ดังนี้ ;
ย่อมทำในบทศึกษาว่า
เราเป็นผู้ทำจิตให้ตั้งมั่นอยู่ จักหายใจออก ดังนี้
ภิกษุนั้น ย่อมทำในบทศึกษาว่า
เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่จักหายใจเข้า ดังนี้ ;
ย่อมทำในบทศึกษาว่า
เราเป็นผู้ทำจิตให้ปล่อยอยู่ จักหายใจออกดังนี้.

(จบ จตุกกะที่สาม)

........หลักปฏิบัติอานาปานสติปาฐะ...........


ภิกษุนั้น ย่อมทำในบทศึกษาว่า
เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติจักหายใจเข้า ดังนี้ ;
ย่อมทำในบทศึกษาว่า
เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งปีติ จักหายใจออก ดังนี้ ;
ภิกษุนั้น ย่อมทำในบทศึกษาว่า
เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุขจักหายใจเข้า ดังนี้ ;
ย่อมทำในบทศึกษาว่า
เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งสุข จักหายใจออก ดังนี้ ;
ภิกษุนั้น ย่อมทำในบทศึกษาว่า
 เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร จักหายใจเข้า ดังนี้ ;
ย่อมทำในบทศึกษาว่า
เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งจิตตสังขาร จักหายใจออก ดังนี้ ;
ภิกษุนั้น ย่อมทำในบทศึกษาว่า
เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับอยู่จักหายใจเข้า ดังนี้ ;
ย่อมทำในบทศึกษาว่า
เราเป็นผู้ทำจิตตสังขารให้รำงับอยู่ จักหายใจออก ดังนี้ ;

(จบ จตุกกะที่สอง)

หลักปฏิบัติอานาปานสติ


........หลักปฏิบัติอานาปานสติปาฐะ...........
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย,
อานาปานสติอันบุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว.
ย่อมมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย,
อานาปานสติอันบุคคลเจริญ ทำให้มากแล้ว.
ย่อมทำสติปัฏฐานทั้งสี่ ให้บริบูรณ์.
สติปัฏฐานทั้งสี่ อันบุคคลเจริญให้มากแล้ว.
ย่อมทำโพชฌงค์ทั้งเจ็ดให้บริบูรณ์.
โพชฌงค์ทั้งเจ็ด อันบุคคลเจริญทำให้มากแล้ว.
ย่อมทำวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย,
ก็อานาปานสติอันบุคคลเจริญ ทำให้มากแล้วอย่างไรเล่า,
จึงมีผลใหญ่ มีอานิสงส์ใหญ่ ?

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย, ภิกษุในธรรมวินัยนี้.
ไปแล้วสู่ป่า ก็ตาม,
ไปแล้วสู่โคนต้นไม้ ก็ตาม
ไปแล้วสู่โคนต้นไม้ ก็ตาม ;
นั่งคู้ขาเข้ามาโดยรอบแล้ว ;
ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่น ;
ภิกษุนั้น เป็นผู้มีสติอยู่นั่นเทียว หายใจเข้า ;
มีสติอยู่ หายใจออก ;
ภิกษุนั้น เมื่อหายใจเข้ายาว
ก็รู้สึกตัวทั่วถึง ว่าเราหายใจเข้ายาว ดังนี้ ;
เมื่อหายใจออกยาว
ก็รู้สึกตัวทั่วถึง ว่าเราหายใจออกยาว ดังนี้ ;
ภิกษุนั้น เมื่อหายใจเข้าสั้น
ก็รู้สึกตัวทั่วถึง ว่าเราหายใจเข้าสั้น ดังนี้ ;
เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้สึกตัวทั่วถึง ว่าเราหายใจออกสั้น ดังนี้ ;
ภิกษุนั้น ย่อมทำในบทศึกษาว่า
เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง จักหายใจเข้า ดังนี้ ;
ย่อมทำในบทศึกษาว่า
เราเป็นผู้รู้พร้อมเฉพาะซึ่งกายทั้งปวง จักหายใจออก ดังนี้ ;
ภิกษุนั้น ย่อมทำในบทศึกษาว่า
เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับอยู่จักหายใจเข้า ดังนี้ ;
ย่อมทำในบทศึกษาว่า
เราเป็นผู้ทำกายสังขารให้รำงับอยู่ จักหายใจออก ดังนี้

(จบ จตุกกะที่หนึ่ง)

..................( สังฆาภิถุติ)...................


..................( สังฆาภิถุติ)...................
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น หมู่ใด, ปฏิบัติดีแล้ว ;
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติตรงแล้ว ;
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด
ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว ;
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าหมู่ใด, ปฏิบัติสมควรแล้ว ;
ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ :
คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่, นับเรียงตัวบุรุษ ได้ ๘ บุรุษ ;
นั่นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ;
เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา ;
เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดไว้ต้อนรับ ;
เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน ;
เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี ;
เป็นเนื้อนาบุญของโลก, ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ;
ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระสงฆ์หมู่นั้น ;
ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์หมู่นั้น ด้วยเศียรเกล้า ;
(กราบรำลึกพระสังฆคุณ)




............( ธัมมาภิถุติ)..............


............( ธัมมาภิถุติ)..............
พระธรรมนั้นใด, เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสไว้ดีแล้ว ;
เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษาและปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง ;
เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ ไม่จำกัดกาล ;
เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด ;
เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว ;
เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน ;
ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระธรรมนั้น ;
ข้าพเจ้านอบน้อมพระธรรมนั้น ด้วยเศียรเกล้า ;


................พุทธาภิถุติ.................


...............(พุทธาภิถุติ)..............
พระตถาคตเจ้านั้น พระองค์ใด ;
เป็นผู้ไกลจากกิเลส ;
เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง ;
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ;
เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี ;
เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง ;
เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้ อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า ;
เป็นครูผู้สอนของเทวคาและมนุษย์ทั้งหลาย ;
เป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบานด้วยธรรม ;
เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์ ;
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด,ได้ทรงทำความดับทุกข์ให้เเจ้งด้วยพระปัญญาอันยิ่งเองแล้ว
ทรงสอนโลกนี้พร้อมทั้งเทวดา, มารพรหม, และหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์
พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม ;
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด, ทรงแสดงธรรมแล้ว ;
ไพเราะในเบื้องต้น,
ไพเราะในท่ามกลาง,
ไพเราะในที่สุด,
ทรงประกาศพรหมจรรย์ คือแบบแห่งการปฏิบัติอันประเสริฐ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง
พร้อมทั้งอรรถะ (คำอธิบาย) พร้อมทั้งพยัญชนะ (หัวข้อ) ;
ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ข้าพเจ้านอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ด้วยเศียรเกล้า


...............คำบูชาพระรัตนตรัย...............


..........คำบูชาพระรัตนตรัย...........
พระผู้มีพระภาคเจ้า, เป็นพระอรหันต์ ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง ;
ข้าพเจ้าอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน

พระธรรมเป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสไว้ดีแล้ว ;
ข้าพเจ้านมัสการพระธรรม.

พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว ;

ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์.

..............ปุพพภาคนมการ..................


............(ปุพพภาคนมการ).........
      นะโม ตัสสะ ภะคะวะโตอะระหะโตสัมมาสัมพุทธัสสะ
      ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้นซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง