Sunday, June 30, 2013

โอรัมภาคิย สังโยชน์ ๕

โอรัมภาคิย สังโยชน์ ๕

พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๑
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓ ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
หน้าที่ ๑๙๖/๒๘๘ ข้อที่ ๒๘๔ - ๒๘๖

[๒๘๔]  โอรัมภาคิยสังโยชน์  [สังโยชน์เบื้องต่ำ] อย่าง
๑. สักกายทิฏฐิ          [ความเห็นเป็นเหตุถือตัวถือตน]
๒. วิจิกิจฉา            [ความสงสัย]
๓. สีลัพตปรามาส        [ความเชื่อถือศักดิ์สิทธิ์ด้วยเข้าใจว่ามีได้ด้วย
    ศีลหรือพรต]
๔. กามฉันทะ         [ความพอใจด้วยอำนาจแห่งกาม]
. พยาบาท          [ความคิดแก้แค้นผู้อื่น]

[๒๘] อุทธัมภาคิยสังโยชน์ [สังโยชน์เบื้องบน] อย่าง
๑. รูปราคะ            [ความติดใจอยู่ในรูปธรรม]
๒. อรูปราคะ           [ความติดใจอยู่ในอรูปธรรม]
๓. มานะ              [ความสำคัญว่าเป็นนั่นเป็นนี่]
๔. อุทธัจจะ            [ความคิดพล่าน]
. อวิชชา             [ความหลงอันเป็นเหตุไม่รู้จริง]


อุบายเครื่องละสังโยชน์
             [๑๕๕] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรอานนท์ ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้ เห็นพระอริยะ ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่เห็น สัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัตบุรุษ มีจิตอันสักกายทิฏฐิ กลุ้มรุมแล้ว อันสักกายทิฏฐิครอบงำแล้วอยู่ และเมื่อสักกายทิฏฐิเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่รู้อุบาย เป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง สักกายทิฏฐินั้นก็เป็นของมีกำลัง อันปุถุชนนั้น บรรเทาไม่ได้แล้ว ชื่อว่าเป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์ ปุถุชนนั้นมีจิตอันวิจิกิจฉากลุ้มรุมแล้ว อัน วิจิกิจฉาครอบงำแล้วอยู่ และเมื่อวิจิกิจฉาเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่รู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ ตามความเป็นจริง วิจิกิจฉานั้นก็เป็นของมีกำลัง อันปุถุชนนั้นบรรเทาไม่ได้แล้ว ชื่อว่าเป็น โอรัมภาคิยสังโยชน์. ปุถุชนนั้นมีจิตอันสีลัพพตปรามาสกลุ้มรุมแล้ว อันสีลัพพตปรามาส ครอบงำแล้วอยู่ และเมื่อสีลัพพตปรามาสเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่รู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสีย ได้ตามความเป็นจริง สีลัพพตปรามาสนั้นก็เป็นของมีกำลัง อันปุถุชนนั้นบรรเทาไม่ได้แล้วชื่อว่า เป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์ ปุถุชนนั้นมีจิตอันกามราคะกลุ้มรุมแล้ว อันกามราคะครอบงำแล้วอยู่ และเมื่อกามราคะเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่รู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง กาม ราคะนั้นก็เป็นของมีกำลัง อันปุถุชนนั้นบรรเทาไม่ได้แล้ว ชื่อว่าเป็นโอรัมภาคิยสังโยชน์. ปุถุชน นั้นมีจิตอันพยาบาทกลุ้มรุมแล้ว อันพยาบาทครอบงำแล้วอยู่ และเมื่อพยาบาทเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่รู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง พยาบาทนั้นก็เป็นของมีกำลัง อัน ปุถุชนนั้นบรรเทาไม่ได้แล้ว ชื่อว่าโอรัมภาคิยสังโยชน์. ดูกรอานนท์ ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ได้เห็นพระอริยะ เป็นผู้ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยะดีแล้ว ได้ เห็นสัตบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ได้รับแนะนำในธรรมของสัตบุรุษดีแล้ว มีจิตอัน สักกายทิฏฐิกลุ้มรุมไม่ได้ อันสักกายทิฏฐิครอบงำไม่ได้อยู่ และเมื่อสักกายทิฏฐิเกิดขึ้นแล้ว ย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง สักกายทิฏฐิพร้อมทั้งอนุสัย อันอริยสาวก นั้นย่อมละได้ อริยสาวกนั้นมีจิตอันวิจิกิจฉากลุ้มรุมไม่ได้ อันวิจิกิจฉาครอบงำไม่ได้อยู่ และ เมื่อวิจิกิจฉาเกิดขึ้นแล้ว ย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง วิจิกิจฉาพร้อม ทั้งอนุสัย อันอริยสาวกนั้นย่อมละได้. อริยสาวกนั้นมีจิตอันสีลัพพตปรามาสกลุ้มรุมไม่ได้ อัน สีลัพพตปรามาสย่อมครอบงำไม่ได้อยู่ และเมื่อสีลัพพตปรามาสเกิดขึ้นแล้ว ย่อมรู้อุบายเป็น เครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง สีลัพพตปรามาสพร้อมทั้งอนุสัย อันอริยสาวกนั้นย่อม ละได้. อริยสาวกนั้นมีจิตอันกามราคะกลุ้มรุมไม่ได้ อันกามราคะครอบงำไม่ได้อยู่ และเมื่อ กามราคะเกิดขึ้นแล้ว ย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความเป็นจริง กามราคะพร้อมทั้ง อนุสัยอันอริยสาวกนั้นย่อมละได้. อริยสาวกนั้นมีจิตอันพยาบาทกลุ้มรุมไม่ได้ อันพยาบาท ครอบงำไม่ได้อยู่ และเมื่อพยาบาทเกิดขึ้นแล้ว ย่อมรู้อุบายเป็นเครื่องสลัดออกเสียได้ตามความ เป็นจริง พยาบาทพร้อมทั้งอนุสัย อันอริยสาวกนั้นย่อมละได้.


มรรคปฏิปทาเครื่องละสังโยชน์
             [๑๕๖] ดูกรอานนท์ ข้อที่ว่า บุคคลจักไม่อาศัยมรรคปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภา- *คิยสังโยชน์ ๕ แล้วจักรู้ จักเห็น หรือจักละ โอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ได้นั้น ไม่เป็นฐานะที่จะ มีได้. ดูกรอานนท์ เปรียบเหมือนข้อที่ว่า ไม่ถากเปลือก ไม่ถากกระพี้ของต้นไม้ใหญ่ที่ยืนต้น มีแก่น แล้วจักถากแก่นนั้น ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันใด ข้อที่ว่า บุคคลจักไม่อาศัยมรรคปฏิปทา ที่เป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ แล้ว จักรู้ จักเห็น หรือจักละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ได้นั้นก็ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันนั้น. ดูกรอานนท์ ข้อที่ว่า บุคคลอาศัยมรรคปฏิปทาอันเป็นไป เพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ แล้ว จักรู้ จักเห็น และจักละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ นั้นได้ เป็น ฐานะที่จะมีได้. ดูกรอานนท์ เปรียบเหมือนข้อที่ว่า ถากเปลือก ถากกระพี้ของต้นไม้ใหญ่ที่ยืนต้น มีแก่น แล้วจึงถากแก่นนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันใด ข้อที่ว่า บุคคลอาศัยมรรคปฏิปทา อันเป็นไปเพื่อละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ แล้ว จักรู้ จักเห็น หรือจักละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ได้นั้น ก็เป็นฐานะที่จะมีได้ ฉันนั้น. ดูกรอานนท์ เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคาน้ำเต็มเปี่ยมเสมอ ขอบฝั่ง กาก้มลงดื่มได้ ครั้งนั้น บุรุษผู้มีกำลังน้อย พึงมาด้วย หวังว่า เราจักว่ายตัดขวาง กระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคานี้ ไปให้ถึงฝั่งโดยสวัสดี ดังนี้เขาจะไม่อาจว่าย ตัดขวางกระแสน้ำ แห่งแม่น้ำคงคา ไปให้ถึงฝั่งโดยสวัสดีได้ ฉันใด เมื่อธรรมอันผู้แสดงๆ อยู่แก่ผู้ใดผู้หนึ่ง เพื่อ ดับความเห็นว่า กายของตน จิตของผู้นั้นไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่มั่นคง ไม่พ้น ฉันนั้น เหมือนกัน. บุรุษผู้มีกำลังน้อยนั้น ฉันใด พึงเห็นบุคคลเหล่านั้น ฉันนั้นเหมือนกัน. ดูกรอานนท์ เปรียบเหมือนแม่น้ำคงคา น้ำเต็มเปี่ยมเสมอขอบฝั่ง กาก้มลงดื่มได้ ครั้งนั้นบุรุษมีกำลัง พึงมาด้วย หวังว่า เราจักว่ายตัดขวางกระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคานี้ ไปให้ถึงโดยสวัสดี ดังนี้ เขาอาจจะ ว่ายตัดขวางกระแสแห่งแม่น้ำคงคา ไปให้ถึงฝั่งโดยสวัสดีได้ ฉันใด ดูกรอานนท์ เมื่อธรรม อันผู้แสดงๆ อยู่แก่ผู้ใดผู้หนึ่งเพื่อดับความเห็นว่า กายของตน จิตของตน จิตของผู้นั้นแล่นไป เลื่อมใส มั่นคง พ้น ฉันนั้นเหมือนกันแล. บุรุษมีกำลังนั้นฉันใด พึงเห็นบุคคลเหล่านั้น ฉันนั้น เหมือนกัน.

No comments:

Post a Comment