Saturday, September 10, 2022

อานาปานสติ (พิจารณาเห็นธรรมในธรรม)

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุ
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจออก
ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจออก
ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจออก
ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจออก
ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจเข้า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ เธอเห็นการละอภิชฌาและโทมนัส
ด้วยปัญญาแล้ว ย่อมเป็นผู้วางเฉยได้ดี เพราะฉะนั้นแล
ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า
พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่เจริญ อานาปานสติ แล้วอย่างนี้
ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล ชื่อว่าบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ ฯ
!!!........!!!
ที่มา..อานาปานสติสูตร : พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ bit.ly/3cXHBne
.....

อานาปานสติ (พิจารณาเห็นจิตในจิต)

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุ
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนด รู้จิต หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจออก ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า
ดูกรภิกษุทั้งหลายในสมัยนั้น 
ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าว อานาปานสติแก่ภิกษุผู้เผลอสติ ไม่รู้สึกตัวอยู่ เพราะฉะนั้นแล
ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นจิตในจิต มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ
กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ
!!!........!!!
ที่มา..อานาปานสติสูตร : พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ bit.ly/3cXHBne
.....

อานาปานสติ (พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา)

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยใด ภิกษุ
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ ปีติ หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจออก
ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจเข้า
สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการใส่ใจ ลมหายใจออก ลมหายใจเข้า เป็นอย่างดีนี้
ว่าเป็น เวทนาชนิดหนึ่ง ในพวกเวทนา เพราะฉะนั้นแล
ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ 
กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ
!!!…………!!!.
ที่มา..อานาปานสติสูตร : พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ bit.ly/3cXHBne
.....

อานาปานสติ (พิจารณาเห็นกายในกาย)

[๒๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ 
ที่เป็นผู้ประกอบ ความเพียรในอันเจริญ อานาปานสติ อยู่ ฯ 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว

ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ภิกษุที่เจริญ อานาปานสติ แล้วทำให้มากแล้ว 

ย่อมบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้

ภิกษุที่เจริญ สติปัฏฐาน ๔ แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญ โพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้ 

ภิกษุที่เจริญ โพชฌงค์ ๗ แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญ วิชชาและวิมุตติ ให้บริบูรณ์ได้ ฯ

!!!.......!!!

             [๒๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้วอย่างไร

ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงมีผลมาก มี อานิสงส์มาก 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างก็ดี 

นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า เธอย่อม 

-มีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า-

เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือ เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว 

เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือ เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น 

สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็น ผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก 

ว่าเราจักเป็น ผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า 

สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า

สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ หายใจเข้า 

สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข หายใจเข้า 

สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจออก 

ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตสังขาร หายใจเข้า 

สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับจิตสังขาร หายใจเข้า 

สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิต หายใจเข้า

สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจออก ว่าเราจักทำจิตให้ร่าเริง หายใจเข้า 

สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจออก ว่าเราจักตั้งจิตมั่น หายใจเข้า

สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจออก ว่าเราจักเปลื้องจิต หายใจเข้า

สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจออก 

ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง หายใจเข้า 

สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจออก 

ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความคลายกำหนัด หายใจเข้า 

สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจออก

ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความดับกิเลส หายใจเข้า 

สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจออก 

ว่าเราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืนกิเลส หายใจเข้า 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว

อย่างนี้ ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล จึงมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ฯ

!!!……..!!!

             [๒๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุที่เจริญ อานาปานสติ แล้วอย่างไร

ทำให้มากแล้วอย่างไร จึงบำเพ็ญ สติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ได้ 

!!!........!!!

ดูกรภิกษุทั้งหลายสมัยใด 

เมื่อภิกษุ หายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อ หายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว 

เมื่อ หายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น หรือเมื่อ หายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น 

สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก 

ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า 

สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจเข้า 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่า พิจารณาเห็นกายในกาย

มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ 

ดูกรภิกษุทั้งหลาย 

เรากล่าว ลมหายใจออก ลมหายใจเข้านี้ ว่าเป็นกายชนิดหนึ่งในพวกกาย เพราะฉะนั้นแล 

ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นกายในกาย มี ความเพียร รู้สึกตัว มีสติ 

กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ

!!!……….!!!

ที่มา..อานาปานสติสูตร : พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๔ bit.ly/3cXHBne
.....

Friday, September 9, 2022

นวสีวถิกาบรรพ (มหาสติปัฏฐานสูตร)

[๒๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง 
ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ตายแล้ววันหนึ่งบ้าง สองวันบ้าง สามวันบ้าง ที่ขึ้นพอง มี สีเขียวน่าเกลียด มีน้ำเหลืองไหลน่าเกลียด เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่าง นี้ไปได้ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง ฯลฯ อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ 
 [๒๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง 
ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า อันฝูงกาจิกกินอยู่บ้าง ฝูงนกตะกรุมจิกกินอยู่บ้าง ฝูงแร้งจิก กินอยู่บ้าง หมู่สุนัขกัดกินอยู่บ้าง หมู่สุนัขจิ้งจอกกัดกินอยู่บ้าง หมู่สัตว์ตัวเล็กๆ ต่างๆ กัดกินอยู่บ้าง เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่าก็มี อย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ 
ดังพรรณนามา ฉะนี้ ภิกษุย่อม
พิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง 
พิจารณาเห็นกายในกายภาย นอกบ้าง 
พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง 
พิจารณาเห็นธรรมคือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง 
พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง 
พิจารณาเห็น ธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง 
ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของ เธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น 
เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล 
ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ
 [๒๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นร่างกระดูก 
ยังมีเนื้อและเลือด ยังมีเส้นเอ็นผูกรัดอยู่ ฯลฯ 
 [๒๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นร่างกระดูก 
ปราศจากเนื้อ แต่ยังเปื้อนเลือด ยังมีเส้นเอ็น ผูกรัดอยู่ ฯลฯ 
 [๒๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นร่างกระดูก 
ปราศจากเนื้อและเลือดแล้ว ยังมีเส้นเอ็น ผูกรัดอยู่ ฯลฯ 
 [๒๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า คือ 
เป็นกระดูก ปราศจากเส้นเอ็นผูกรัดแล้ว เรี่ยรายไปใน ทิศใหญ่ทิศน้อย คือ กระดูกมือไปทางหนึ่ง กระดูกเท้าไปทางหนึ่ง กระดูกแข้ง ไปทางหนึ่ง กระดูกขาไปทางหนึ่ง กระดูกสะเอวไปทางหนึ่ง กระดูกหลังไปทาง หนึ่ง กระดูกสันหลังไปทางหนึ่ง กระดูกสีข้างไปทางหนึ่ง กระดูกหน้าอกไปทาง หนึ่ง กระดูกไหล่ไปทางหนึ่ง กระดูกแขนไปทางหนึ่ง กระดูกคอไปทางหนึ่ง กระดูกคางไปทางหนึ่ง กระดูกฟันไปทางหนึ่ง กะโหลกศีรษะไปทางหนึ่ง เธอ ย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า 
ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คง เป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังพรรณนามาฉะนี้ 
ภิกษุย่อม
พิจารณา เห็นกายในกายภายในบ้าง 
พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง 
พิจารณาเห็นกาย ในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง 
พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง 
พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง 
พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมในกายบ้าง 
ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กาย มีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น 
เธอเป็นผู้อันตัณหาและ ทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้ แล 
ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ
 [๒๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า คือ 
เป็นกระดูกมีสีขาว เปรียบด้วยสีสังข์ ฯลฯ 
 [๒๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า คือ 
เป็นกระดูกกองเรียงรายอยู่แล้วเกินปีหนึ่งขึ้นไป ฯลฯ 
 [๒๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า คือ เป็นกระดูกผุ เป็นจุณแล้ว เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้ แหละว่า 
ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความ เป็นอย่างนี้ไปได้ 
ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อม
พิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง 
พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง 
พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในภายนอก บ้าง 
พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง 
พิจารณาเห็นธรรมคือความ เสื่อมในกายบ้าง 
พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง 
ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น 
เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล 
ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็น กายในกายอยู่ ฯ
ที่มา..มหาสติปัฏฐานสูตร : พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ bit.ly/3d2F370
.....

ธาตุมนสิการบรรพ (มหาสติปัฏฐานสูตร)

[๒๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง 
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ 
ซึ่งตั้งอยู่ตามที่ ตั้งอยู่ตามปรกติ โดยความเป็นธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้
ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม 
คนฆ่าโคหรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้ขยัน ฆ่าโค
แล้ว แบ่งออกเป็นส่วน นั่งอยู่ที่หนทางใหญ่สี่แพร่ง ฉันใด 
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน 
ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ ซึ่งตั้งอยู่ตามที่ ตั้งอยู่ตามปรกติ โดย
ความเป็นธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ 
ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม 
ดังพรรณนามาฉะนี้ 
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง ฯลฯ อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า
พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ
ที่มา..มหาสติปัฏฐานสูตร : พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ bit.ly/3d2F370
.....

ปฏิกูลมนสิการบรรพ (มหาสติปัฏฐานสูตร)

[๒๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ
แต่พื้นเท้าขึ้นไป แต่ปลายผมลงมา มีหนังเป็นที่สุดรอบ เต็มด้วยของ
ไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่า มีอยู่ในกายนี้
ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ
เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่
ไส้ทบ อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา
มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนไถ้มีปาก
สองข้าง เต็มด้วยธัญชาติต่างชนิดคือ ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ถั่วเขียว ถั่วเหลือง
งา ข้าวสาร บุรุษผู้มีนัยน์ตาดีแก้ไถ้นั้นแล้ว พึงเห็นได้ว่า นี้ข้าวสาลี นี้ข้าว
เปลือก นี้ถั่วเขียว นี้ถั่วเหลือง นี้งา นี้ข้าวสาร ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน
ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ แต่พื้นเท้าขึ้นไป แต่ปลายผมลงมา มีหนัง
เป็นที่สุดรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่า มีอยู่ในกายนี้
ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด
ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้ทบ อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด
เหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร
ดังพรรณนามาฉะนี้
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง
พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง
พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง
ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า
กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น
เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ 
ที่มา..มหาสติปัฏฐานสูตร : พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ bit.ly/3d2F370
.....

Thursday, September 8, 2022

สัมปชัญญบรรพ (มหาสติปัฏฐานสูตร)

[๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุ
ย่อมทำความรู้สึกตัว
ในการ ก้าว 
ในการถอย 
ในการแล 
ในการเหลียว 
ในการคู้เข้า 
ในการเหยียดออก 
ในการทรงผ้าสังฆาฏิบาตรและจีวร 
ในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม 
ใน การถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ 
ย่อมทำความรู้สึกตัว 
ในการเดิน การยืน การนั่ง การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง 
ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อม
พิจารณาเห็น กายในกายภายในบ้าง 
พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง 
พิจารณาเห็นกาย ในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง 
พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง 
พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง 
พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้ง ความเสื่อมในกายบ้าง 
ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า 
กายมี อยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น 
เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิ ไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ

                                                            ที่มา..มหาสติปัฏฐานสูตร : พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ bit.ly/3d2F370
.....

วิธีการนั่งภาวนาแบบหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต

การนั่งสมาธิภาวนา 
คือการทำจิตใจของตนให้ตั้งมั่น ชำระจิตใจของตนให้ผ่องใส ทำใจให้สงบสบาย หลวงปู่มั่น องค์ท่านกล่าวว่า 
"การภาวนา คือ การอบรมใจให้ฉลาดเที่ยงตรงต่อเหตุผล อรรถธรรม รู้จักวิธีปฏิบัติต่อตัวเองและสิ่งทั้งหลาย ไม่ให้จิตผาดโผนโลดเต้นแบบไม่มีฝั่งมีฝา ยึดการภาวนาเป็นรั้วกั้น ความคิดฟุ้งของใจให้อยู่ในเหตุผล 
อันจะเป็นทางแห่งความสงบสุขใจ ที่ยังมิได้รับการอบรมจากการภาวนา"
ก่อนอื่นที่เราจะนั่งสมาธิภาวนา ให้หาสถานที่อันเป็นมุมสงบ นั่งเข้าที่เอาขาขวาทับขาซ้าย เอามือขวาทับมือซ้าย ตั้งกายให้ตรงดำรงสติให้มั่น ไม่เอียงซ้ายนัก ไม่เอียงขวานัก ไม่ก้มนัก ไม่เงยนัก ทำตัวให้สบาย ๆ ดูท่าการประทับนั่งของพระพุทธรูปเป็นแบบอย่าง (หากไม่สะดวกที่จะนั่งอยู่ขัดสมาธิอยู่กับพื้น ก็ให้นั่งบนเก้าอี้หรืออะไรก็ได้ตามแต่สะดวก) 
เราเริ่มฝึกหัดนั่งใหม่ ๆ อาจจะปวดแข้งเจ็บขาบ้างเป็นธรรมดา แต่ครูบาอาจารย์ท่านบอกว่า ให้พยายามอดทนต่อสู้กับเวทนาความเจ็บปวดที่เกิดขึ้น 
หากสู้ไม่ไหวจริง ๆ ให้สลับสับเปลี่ยนอิริยาบถ ออกไปเดินจงกรมเพื่อผ่อนคลายความเจ็บปวด
เมื่อนั่งเข้าที่เรียบร้อยแล้วให้กล่าวคำอธิษฐานภาวนา เพื่อเป็นการบูชาคุณพระพุทธเจ้าผู้เป็นศาสดาเอกของโลก 
ผู้เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บูชาคุณพระธรรม บูชาคุณพระสงฆ์ กล่าวตามดังนี้
"สาธุ ข้าพเจ้าจะนั่งสมาธิภาวนา บูชาคุณพระพุทธเจ้า บูชาคุณพระธรรม บูชาคุณพระสงฆ์ บูชาคุณบิดามารดา บูชาคุณครูอุปัชฌาย์อาจารย์ ตลอดจนผู้มีพระคุณทั้งหลาย ขอจงเป็นพลวปัจจัยแด่พระนิพพานของข้าพเจ้า และขอให้ข้าพเจ้ามีสติปัญญาเฉลียวฉลาด สามารถรู้แจ้งถึงพระนิพพาน 
เอาชนะกิเลสความไม่ดีทั้งหลายที่อยู่ภายในใจได้ตลอดกาลนานเทอญ"
ภายหลังจากที่กล่าวคำอธิษฐานเสร็จให้
กำหนดคำบริกรรมภาวนาพร้อมกับ  
ลมหายใจเข้าว่า "พุท" หายใจออก "โธ" 
หายใจเข้า "ธัม" หายใจออก "โม" 
หายใจเข้า "สัง" หายใจออก "โฆ" 
และให้ระลึกคำบริกรรมภาวนา "พุทโธ ธัมโม สังโฆ" 3 หน 
แล้วให้ระลึกเอาคำบริกรรมภาวนาว่า 
"พุทโธ" แต่เพียงคำเดียว 
โดยตั้งสติไว้ที่ปลายจมูก 
ลมหายใจเข้า "พุท" ก็กำหนดรู้ 
ลมหายใจออก "โธ" ก็กำหนดรู้ 
สติกำหนดอยู่กับคำบริกรรมภาวนา 
หากจิตคิดแส่สายไปทางอื่น ก็ดึงจิตกลับมาให้อยู่กับคำบริกรรมภาวนานั้น 
หากยังไม่ได้ผล ให้เร่งคำบริกรรมภาวนาเร็ว ๆ "พุทโธๆๆๆๆๆๆๆๆ"
ให้หมั่นกระทำบำเพ็ญอยู่เป็นประจำ การทำครั้งสองครั้งอยากจะให้จิตสงบก็เป็นไปได้ยาก
ที่ครูบาอาจารย์พระกรรมฐานสายหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ท่านสอนให้ใช้คำบริกรรมภาวนาบทว่า 
"พุทโธ" นั้น เพื่อต้องการให้น้อมเอาคุณของพระพุทธเจ้ามาไว้ที่ใจ 
"ธัมโม" น้อมเอาคุณของพระธรรมเจ้ามาไว้ที่ใจ 
"สังโฆ" น้อมเอาคุณของพระสงฆ์สาวกผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบมาไว้ที่ใจ 
ท่านถึงว่า "พระอยู่ที่ใจ" คือมีพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์อยู่ในใจของเรานั่นเอง
เมื่อจะเลิกจากการนั่งสมาธิภาวนา ให้ยกมือประนมขึ้นระหว่างคิ้วตรงศีรษะครั้งหนึ่ง พร้อมกับกล่าวคำว่า 
"สาธุ" ภายในใจ 
ต่อจากนั้นตั้งใจแผ่เมตตาให้กับตัวเอง 
ครั้นเมื่ออธิษฐานเสร็จ ก็ตั้งใจแผ่ส่วนบุญส่วนกุศลที่ได้กระทำบำเพ็ญในครั้งนี้ ไปให้กับผู้มีอุปการะคุณ 
และสรรพสัตว์ทั้งหลาย กล่าวตามดังนี้
"ด้วยอานิสงส์ผลบุญที่เกิดจากการนั่งสมาธิภาวนา ข้าพเจ้าขอแผ่ส่วนบุญไปให้แก่บิดามารดา ปู่ย่าตายาย ญาติพี่น้องทั้งหลาย มิตรสหายทั้งหลาย เทวาอารักษ์ทั้งหลาย เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย พระอินทร์ พระพรหม ยม ยักษ์ ครุฑ คนธรรภ์ กุมภัณฑ์ นาคทั้งหลาย รุกขเทวดา อากาศเทวดา ภุมเทวดา เปรต ผี อสุรกายทั้งหลาย สรรพสัตว์ทั้งหลาย ทั้งที่มีชีวิตอยู่และหามีชีวิตไม่ ขอให้ท่านทั้งหลายเหล่านั้น จงมีแต่ความสุขกายสุขใจ อย่าได้มีเวรมีภัย อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย จงอยู่เป็นสุขเสมอเถิด ขอจงได้รับส่วนแห่งบุญที่ข้าพเจ้าได้กระทำบำเพ็ญในครั้งนี้ด้วยเทอญ"
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต
.....

อิริยาปถบรรพ (มหาสติปัฏฐานสูตร)


[๒๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุ
เมื่อเดิน ก็รู้ชัดว่าเราเดิน 
เมื่อยืน ก็รู้ชัดว่าเรายืน 
เมื่อนั่ง ก็รู้ชัดว่าเรานั่ง 
เมื่อนอนก็รู้ชัดว่าเรานอน หรือ 
เธอตั้งกายไว้ด้วยอาการอย่างใดๆ ก็รู้ชัดอาการอย่างนั้นๆ 
ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อม
พิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง 
พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง 
พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง 
พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิด ขึ้นในกายบ้าง 
พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง 
พิจารณาเห็นธรรมคือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง 
ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่น อยู่ว่า 
กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น 
เธอเป็นผู้อัน ตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก 
ดูกรภิกษุทั้งหลายอย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ
ที่มา..มหาสติปัฏฐานสูตร : พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ bit.ly/3d2F370
..........

อานาปานบรรพ (มหาสติปัฏฐานสูตร)



[๒๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างไรเล่า

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์

ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า

เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า

เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว

เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว

เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น

เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น

ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวงหายใจออก

ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวงหายใจเข้า

ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก

ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นายช่างกลึงหรือลูกมือของนายช่างกลึงผู้ขยัน

เมื่อชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ชัดว่า เราชักยาว

เมื่อชักเชือกกลึงสั้น ก็รู้ชัดว่า เราชักสั้น

แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน

เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว

เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว

เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น

เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น

ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจออก

ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจเข้า

ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก

ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า

ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อม

พิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง

พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง

พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง

พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง

พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง

พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง

ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า

กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น

เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก

ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า

พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ

ที่มา..มหาสติปัฏฐานสูตร : พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๐ bit.ly/3d2F370
.....