ขันธ์ 5 ซึ่งเป็นที่ตั้งของกองทุกข์ในทางพระพุทธศาสนา การกำหนดทุกข์ถือเป็นกิจในอริยสัจ 4 ที่ชาวพุทธต้องทำเพื่อละและปล่อยวางในลำดับต่อไปในกิจทั้งสี่ในอริยสัจ อันได้แก่ รู้ทุกข์ เพื่อค้นหาสาเหตุในการดับทุกข์ (สมุทัย) แล้วจึงตั้งจุดมุ่งหมายในการดับทุกข์ (นิโรธ) และดำเนินตามเส้นทางสู่ความดับทุกข์ (มรรค) คือสละ ละ ปล่อยวาง ไม่ยึดติดในใจด้วยอำนาจกิเลสทุกข์ จัดเป็นหนึ่งในชื่อเรียกที่เป็นไวพจน์ของขันธ์ซึ่งถูกใช้เป็นอย่างมากในพระไตรปิฎก-ทุกข์ในอริยสัจ-ทุกข์ถือเป็นความจริงอันประเสริฐข้อที่ 1 ในอริยสัจ 4 จึงเรียกว่าทุกขสัจ มี 11 อย่าง ได้แก่ :-๑. ชาติ หมายถึง ความเกิด ความบังเกิด ความหยั่งลงเกิด เกิดจำเพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อายตนะครบ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ๒. ชรา หมายถึง ความแก่ ภาวะของความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนังย่นเป็นเกลียว ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ๓. มรณะ หมายถึง ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความแตกทำลาย ความหายไป มฤตยู ความตาย ความทำกาละ ความทำลายแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งซากศพไว้ ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ๔. โสกะ หมายถึง ความแห้งใจ กิริยาที่แห้งใจ ภาวะแห่งบุคคลผู้แห้งใจ ความผาก ณ ภายใน ความแห้งผาก ณ ภายใน ของบุคคลผู้ประกอบด้วย ความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรมคือ ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่ง กระทบแล้ว๕. ปริเทวะ หมายถึง ความคร่ำครวญ ความร่ำไรรำพัน กิริยาที่คร่ำครวญ กิริยาที่ร่ำไรรำพัน ภาวะของบุคคลผู้คร่ำครวญ ภาวะของบุคคลผู้ร่ำไรรำพัน ของบุคคลผู้ประกอบด้วย ความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรมคือทุกข์ อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว๖. ทุกข์ (กาย) หมายถึง ความลำบากทางกาย ความไม่สำราญทางกาย ความเสวยอารมณ์ อันไม่ดีที่เป็นทุกข์เกิดแต่ กายสัมผัส๗. โทมนัส หมายถึง ความทุกข์ทางจิต ความไม่สำราญทางจิต ความเสวยอารมณ์อันไม่ดี ที่เป็นทุกข์เกิดแต่ มโนสัมผัส (สัมผัสทางใจ นึกคิดขึ้นมา)๘. อุปายาส หมายถึง ความแค้น ความคับแค้น ภาวะของบุคคลผู้แค้น ภาวะของบุคคลผู้คับแค้น ของบุคคล ผู้ประกอบด้วยความพิบัติ อย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรมคือ ทุกข์ อย่างใดอย่างหนึ่ง กระทบแล้ว๙. ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก หมายถึง ความประสบ ความพรั่งพร้อม ความร่วม ความระคน ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (ความรู้สึกทางกาย) อันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ หรือด้วย บุคคลผู้ปรารถนาสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูล ปรารถนาความไม่ผาสุก ปรารถนาความไม่เกษมจากโยคะ (กิเลส) ซึ่งมีแก่ผู้นั้น๑๐. ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก หมายถึง ความไม่ประสบ ความไม่พรั่งพร้อม ความไม่ร่วม ความไม่ระคน ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หรือด้วยบุคคลผู้ปรารถนาประโยชน์ ปรารถนาสิ่งที่เกื้อกูล ปรารถนาความผาสุก ปรารถนาความเกษม จากโยคะ คือ มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่หญิง น้องหญิง มิตร อมาตย์ หรือ ญาติสาโลหิต ซึ่งมีแก่ผู้นั้น๑๑. ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น หมายถึง ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่ สัตว์ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา สัตว์ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา สัตว์ผู้มีความเจ็บเป็นธรรมดา สัตว์ผู้มีความตายเป็นธรรมดา สัตว์ผู้มี โสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาสเป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมีความเกิดเป็นธรรมดา ขอความเกิดอย่ามีมาถึงเราเลย ขอเราไม่พึงมีความแก่เป็นธรรมดา ขอความแก่อย่ามีมาถึงเราเลย ขอเราไม่พึงมีความเจ็บเป็นธรรมดา ขอความเจ็บอย่ามีมาถึงเราเลย ขอเราไม่พึงมีความตายเป็นธรรมดา ขอความตายอย่ามีมาถึงเราเลย ขอเราไม่พึงมี โสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส เป็นธรรมดา ขอโสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส อย่ามีมาถึงเราเลย สัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนาปกติแล้วเรามักเห็นว่า บางครั้งท่านใช้ความหมายของทุกข์ควบคู่ไปกับทุกขเวทนา, จนทำให้เข้าใจกันว่า ทุกข์หมายถึงความทุกข์เจ็บปวด เป็นต้น แต่หากพิจารณาตามข้อความที่ยกมานี้ จะพบว่า ใน 11 ข้อนี้ มีถึง 6 ข้อ (เกินครึ่ง) ที่ไม่ได้หมายถึงเพียงทุกขเวทนาเท่านั้น แต่หมายถึงขันธ์ทั้งหมด. 6 ข้อนี้ ได้แก่ ชาติ, ชรา, มรณะ, ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นเมื่อว่ากันทั่วไปตามโวหารโลกตามหลักวิชาการทางพระพุทธศาสนาแล้ว ในขณะที่เกิด (ปฏิสนธิขณะ) และขณะที่ตาย (จุติขณะ) ของสรรพสัตว์นั้น ไม่ว่าจะเกิดและตายอย่างพิสดารผาดโผนโจนทะยานเท่าใดก็ตาม แต่ชั่วเวลาไม่ถึงเสี้ยววินาทีที่จะเกิดและตายนั้น จะไม่มีใครเกิด และตายอย่างมีทุกขเวทนา, และเมื่อว่าโดยปรมัตถ์ให้ละเอียดลงไป การเกิดขึ้น (อุปาทานุขณะ) ความแก่ (ฐิตานุขณะ) และความตาย (ภังคานุขณะ) ของขันธ์ ก็ไม่ได้มีกับทุกขเวทนาเท่านั้นด้วย แต่มีกับขันธ์ 5 แทบทั้งหมด. ส่วนความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก, ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก,ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น นั้นเมื่อว่าโดยตรงแล้วตัณหาจะไม่มีทุกขเวทนาเด็ดขาด. และความประจวบ ความพลัดพรากนั้น ก็มีกับขันธ์ทั้งหมด. ส่วนความปรารถนาแล้วไม่ได้นั้นเมื่อว่าโดยตรงแล้ว ก็ไม่เกิดกับทุกขเวทนาเช่นกัน และเมื่อกล่าวโดยรวมแล้วก็ยังจัดได้ว่ามีกับขันธ์ 5 ทั้งหมดด้วยเช่นกัน.ฉะนั้นทุกข์จึงไม่ใช่แต่เพียงทุกขเวทนาเท่านั้น แต่หมายถึงขันธ์ 5 ทั้งหมด ดังนั้นในพระสูตรทั่วไป เช่น จูฬเวทัทลสูตร เป็นต้น รวมถึงอรรถกถาต่างๆ เช่น อรรถกถาสติปัฏฐานสูตร เป็นต้น ท่านจึงได้อธิบายให้สุขเวทนาและอุเบกขาเวทนาว่าเป็นทุกข์ด้วย เพราะเป็นสิ่งที่แปรเปลี่ยนไปและเป็นสังขารธรรมเป็นต้นนั่นเอง.นอกจากนี้ยังอาจแบ่งทุกข์ในอริยสัจ 4 ได้เป็น 2 กลุ่มคือ๑. สภาวทุกข์ คือทุกข์ประจำ ทุกข์ที่มีอยู่ด้วยกันทุกคน ไม่มียกเว้น ได้แก่ความเกิด ความแก่ ความตาย๒. ปกิณณกทุกข์ คือทุกข์จร ทุกข์ที่จรมาเป็นครั้งคราว ได้แก่ ความเศร้าโศก ความพร่ำเพ้อรำพัน ความไม่สบายใจ ความน้อยใจ ความคับแค้นใจ ความประสบกับสิ่งที่ไม่ชอบ ความพลัดพรากจากสิ่งที่ชอบ ความผิดหวังไม่ได้ตามที่ต้องการที่มา..ทุกข์ - วิกิพีเดีย bit.ly/3ex1L7T.....
ขันธ์ 5 ซึ่งเป็นที่ตั้งของกองทุกข์
ในทางพระพุทธศาสนา การกำหนดทุกข์ถือเป็นกิจในอริยสัจ 4
ที่ชาวพุทธต้องทำเพื่อละและปล่อยวางในลำดับต่อไปในกิจทั้งสี่ในอริยสัจ อันได้แก่
รู้ทุกข์ เพื่อค้นหาสาเหตุในการดับทุกข์ (สมุทัย) แล้วจึงตั้งจุดมุ่งหมายในการดับทุกข์ (นิโรธ) และดำเนินตามเส้นทางสู่ความดับทุกข์ (มรรค) คือสละ ละ ปล่อยวาง ไม่ยึดติดในใจด้วยอำนาจกิเลส
ทุกข์ จัดเป็นหนึ่งในชื่อเรียกที่เป็นไวพจน์ของขันธ์ซึ่งถูกใช้เป็นอย่างมากในพระไตรปิฎก
-ทุกข์ในอริยสัจ-
ทุกข์ถือเป็นความจริงอันประเสริฐข้อที่ 1 ในอริยสัจ 4 จึงเรียกว่าทุกขสัจ มี 11 อย่าง ได้แก่ :-
๑. ชาติ หมายถึง ความเกิด ความบังเกิด ความหยั่งลงเกิด เกิดจำเพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์
ความได้อายตนะครบ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ
๒. ชรา หมายถึง ความแก่ ภาวะของความแก่ ฟันหลุด ผมหงอก หนังย่นเป็นเกลียว ความเสื่อมแห่งอายุ
ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ
๓. มรณะ หมายถึง ความเคลื่อน ภาวะของความเคลื่อน ความแตกทำลาย ความหายไป มฤตยู ความตาย ความทำกาละ ความทำลายแห่งขันธ์ ความทอดทิ้งซากศพไว้ ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ
๔. โสกะ หมายถึง ความแห้งใจ กิริยาที่แห้งใจ ภาวะแห่งบุคคลผู้แห้งใจ ความผาก ณ ภายใน ความแห้งผาก ณ ภายใน ของบุคคลผู้ประกอบด้วย ความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรมคือ ทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่ง กระทบแล้ว
๕. ปริเทวะ หมายถึง ความคร่ำครวญ ความร่ำไรรำพัน กิริยาที่คร่ำครวญ กิริยาที่ร่ำไรรำพัน ภาวะของบุคคลผู้คร่ำครวญ ภาวะของบุคคลผู้ร่ำไรรำพัน ของบุคคลผู้ประกอบด้วย ความพิบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง
ผู้ถูกธรรมคือทุกข์ อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว
๖. ทุกข์ (กาย) หมายถึง ความลำบากทางกาย ความไม่สำราญทางกาย ความเสวยอารมณ์
อันไม่ดีที่เป็นทุกข์เกิดแต่ กายสัมผัส
๗. โทมนัส หมายถึง ความทุกข์ทางจิต ความไม่สำราญทางจิต ความเสวยอารมณ์อันไม่ดี ที่เป็นทุกข์เกิดแต่ มโนสัมผัส (สัมผัสทางใจ นึกคิดขึ้นมา)
๘. อุปายาส หมายถึง ความแค้น ความคับแค้น ภาวะของบุคคลผู้แค้น ภาวะของบุคคลผู้คับแค้น ของบุคคล ผู้ประกอบด้วยความพิบัติ อย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้ถูกธรรมคือ ทุกข์ อย่างใดอย่างหนึ่ง กระทบแล้ว
๙. ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก หมายถึง ความประสบ ความพรั่งพร้อม ความร่วม ความระคน ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (ความรู้สึกทางกาย) อันไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ หรือด้วย บุคคลผู้ปรารถนาสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ปรารถนาสิ่งที่ไม่เกื้อกูล ปรารถนาความไม่ผาสุก ปรารถนาความไม่เกษมจากโยคะ (กิเลส) ซึ่งมีแก่ผู้นั้น
๑๐. ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก หมายถึง ความไม่ประสบ ความไม่พรั่งพร้อม ความไม่ร่วม ความไม่ระคน ด้วยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หรือด้วยบุคคลผู้ปรารถนาประโยชน์ ปรารถนาสิ่งที่เกื้อกูล ปรารถนาความผาสุก ปรารถนาความเกษม จากโยคะ คือ มารดา บิดา พี่ชาย น้องชาย พี่หญิง น้องหญิง มิตร อมาตย์ หรือ ญาติสาโลหิต ซึ่งมีแก่ผู้นั้น
๑๑. ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น หมายถึง ความปรารถนาย่อมบังเกิดแก่ สัตว์ผู้มีความเกิดเป็นธรรมดา สัตว์ผู้มีความแก่เป็นธรรมดา สัตว์ผู้มีความเจ็บเป็นธรรมดา สัตว์ผู้มีความตายเป็นธรรมดา สัตว์ผู้มี โสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาสเป็นธรรมดา อย่างนี้ว่า โอหนอ ขอเราไม่พึงมีความเกิดเป็นธรรมดา ขอความเกิดอย่ามีมาถึงเราเลย ขอเราไม่พึงมีความแก่เป็นธรรมดา ขอความแก่อย่ามีมาถึงเราเลย ขอเราไม่พึงมีความเจ็บเป็นธรรมดา ขอความเจ็บอย่ามีมาถึงเราเลย ขอเราไม่พึงมีความตายเป็นธรรมดา ขอความตายอย่ามีมาถึงเราเลย ขอเราไม่พึงมี โสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส เป็นธรรมดา ขอโสกปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส อย่ามีมาถึงเราเลย สัตว์ไม่พึงได้สมความปรารถนา
ปกติแล้วเรามักเห็นว่า บางครั้งท่านใช้ความหมายของทุกข์ควบคู่ไปกับทุกขเวทนา, จนทำให้เข้าใจกันว่า ทุกข์หมายถึงความทุกข์เจ็บปวด เป็นต้น แต่หากพิจารณาตามข้อความที่ยกมานี้ จะพบว่า ใน 11 ข้อนี้ มีถึง 6 ข้อ (เกินครึ่ง) ที่ไม่ได้หมายถึงเพียงทุกขเวทนาเท่านั้น แต่หมายถึงขันธ์ทั้งหมด. 6 ข้อนี้ ได้แก่ ชาติ, ชรา, มรณะ, ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น
เมื่อว่ากันทั่วไปตามโวหารโลกตามหลักวิชาการทางพระพุทธศาสนาแล้ว ในขณะที่เกิด (ปฏิสนธิขณะ) และขณะที่ตาย (จุติขณะ) ของสรรพสัตว์นั้น ไม่ว่าจะเกิดและตายอย่างพิสดารผาดโผนโจนทะยานเท่าใดก็ตาม แต่ชั่วเวลาไม่ถึงเสี้ยววินาทีที่จะเกิดและตายนั้น จะไม่มีใครเกิด และตายอย่างมีทุกขเวทนา, และเมื่อว่าโดยปรมัตถ์ให้ละเอียดลงไป การเกิดขึ้น (อุปาทานุขณะ) ความแก่ (ฐิตานุขณะ) และความตาย (ภังคานุขณะ) ของขันธ์ ก็ไม่ได้มีกับทุกขเวทนาเท่านั้นด้วย แต่มีกับขันธ์ 5 แทบทั้งหมด. ส่วนความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก, ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก,ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น นั้นเมื่อว่าโดยตรงแล้วตัณหาจะไม่มีทุกขเวทนาเด็ดขาด. และความประจวบ ความพลัดพรากนั้น ก็มีกับขันธ์ทั้งหมด. ส่วนความปรารถนาแล้วไม่ได้นั้นเมื่อว่าโดยตรงแล้ว ก็ไม่เกิดกับทุกขเวทนาเช่นกัน และเมื่อกล่าวโดยรวมแล้วก็ยังจัดได้ว่ามีกับขันธ์ 5 ทั้งหมดด้วยเช่นกัน.
ฉะนั้นทุกข์จึงไม่ใช่แต่เพียงทุกขเวทนาเท่านั้น แต่หมายถึงขันธ์ 5 ทั้งหมด ดังนั้นในพระสูตรทั่วไป เช่น จูฬเวทัทลสูตร เป็นต้น รวมถึงอรรถกถาต่างๆ เช่น อรรถกถาสติปัฏฐานสูตร เป็นต้น ท่านจึงได้อธิบายให้สุขเวทนาและอุเบกขาเวทนาว่าเป็นทุกข์ด้วย เพราะเป็นสิ่งที่แปรเปลี่ยนไปและเป็นสังขารธรรมเป็นต้นนั่นเอง.
นอกจากนี้ยังอาจแบ่งทุกข์ในอริยสัจ 4 ได้เป็น 2 กลุ่มคือ
๑. สภาวทุกข์ คือทุกข์ประจำ ทุกข์ที่มีอยู่ด้วยกันทุกคน ไม่มียกเว้น ได้แก่ความเกิด ความแก่ ความตาย
๒. ปกิณณกทุกข์ คือทุกข์จร ทุกข์ที่จรมาเป็นครั้งคราว ได้แก่ ความเศร้าโศก ความพร่ำเพ้อรำพัน ความไม่สบายใจ ความน้อยใจ ความคับแค้นใจ ความประสบกับสิ่งที่ไม่ชอบ ความพลัดพรากจากสิ่งที่ชอบ ความผิดหวังไม่ได้ตามที่ต้องการ
ที่มา..ทุกข์ - วิกิพีเดีย bit.ly/3ex1L7T
.....
No comments:
Post a Comment