Saturday, March 21, 2015

กายคตาสติ

    กายคตาสติ มาจากการสมาสของคำว่า กาย + คติ + สติ จึงหมายถึง การมีสติ ในการเห็นทางดำเนินและเป็นไปของกายอย่างปรมัตถ์หรือตามความเป็นจริง,  สติที่เป็นไปในกาย,  สติอันพิจารณากาย ให้เห็นตามสภาพที่มีส่วนประกอบ ซึ่งล้วนเป็นของไม่สะอาด ไม่งาม น่ารังเกียจ เป็นปฏิกูล ทำให้เกิดความรู้เท่าทัน ไม่หลงใหลมัวเมา เกิดความหน่ายหรือนิพพิทาไปในทั้งกายตนแลผู้อื่น,  ซึ่งใช้หลักในการเจริญวิปัสสนาเหมือนกับกายานุปัสสนาในสติปัฏฐาน ๔ นั่นเองที่เป็นการใช้สติพิจารณากายเป็นอารมณ์ ในลักษณะเดียวกัน  
             กายคตาสติ เป็นการปฏิบัติพระกรรมฐานที่ดีงาม กล่าวคือเป็นการปฏิบัติสมถวิปัสสนา ที่ประกอบด้วยทั้ง สติ สมาธิ และปัญญา ทั้ง ๓  กล่าวคือ เมื่อมีสติ ย่อมเกิดสมาธิหรือจิตตั้งมั่นจากความสงบระงับจากการปฏิบัติอานาปานสติ หรืออิริยบถ หรือสัมปชัญญะ แล้วนำมาเป็นกำลังในการเจริญวิปัสสนาใน ปฏิกูลมนสิการบ้าง ธาตุมนสิการบ้าง หรือ นวสีวถิกาบ้าง เพื่อให้เห็นความจริงเกี่ยวกับกาย ว่าไม่งาม น่าปฏิกูล ของเหล่ากายทั้งปวง กล่าวคือพิจารณาให้เห็นความจริงที่เป็นไปทั้งในกายตนและในกายผู้อื่น เพื่อยังให้เกิดนิพพิทา จึงบรรเทาหรือดับตัณหาอันเป็นสมุทัยเหตุแห่งทุกข์,  จัดเป็น ๑ ในอนุสติ ๑๐ ที่ควรระลึกถึงอยู่เนืองๆ
             และทั้งสติและสมาธิที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติกายคตาสติอย่างถูกต้องดีงาม ก็ย่อมคือสัมมาสติและสัมมาสมาธิในองค์มรรค(มรรคปฏิบัติที่มีองค์ ๘)  ที่จักพึงยังให้เกิดสัมมาญาณ(สัมมาปัญญา)ในที่สุด อันเป็นมรรคองค์ที่ ๙ ในสัมมัตตะ ๑๐ หรือมรรคมีองค์ ๑๐ ของพระอริยเจ้าเป็นที่สุด
ที่มาของบทความ และ ขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ด้วย http://www.nkgen.com/486.htm


อานาปานสติสูตร

อานาปานสติสูตร

ว่าด้วยการเจริญอานาปานสติที่มีผลมาก

[๒๘๒]  ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง    พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ที่ปราสาทของอุบาสิกา
วิสาขามิคารมารดา    ในพระวิหารบุพพาราม    กรุงสาวัตถี    พร้อมด้วย
พระสาวกผู้เถระมีชื่อเสียงเด่นมากรูปด้วยกัน  เช่น  ท่านพระสารีบุตร  ท่าน
พระมหาโมคคลัลานะ ท่านพระมหากัสสปะ  ท่านพระมหากัจจายนะ
ท่านพระมหาโกฏฐิตะ ท่านพระมหากัปปินะ ท่านพระมหาจุนทะ ท่าน
พระเรวตะ  ท่านพระอานนท์    และพระสาวกผู้เถระมีชื่อเสียงเด่นอื่นๆ  ก็
สมัยนั้นแล   พระเถระทั้งหลายพากันโอวาทพร่ำสอนพวกภิกษุอยู่     คือ   พระ
เถระบางพวกโอวาทพร่ำสอนภิกษุ  ๑๐ รูปบ้าง  บางพวกโอวาทพร่ำสอน  ๒๐ รูป
บ้าง   บางพวกโอวาทพร่ำสอน ๓๐ รูปบ้าง   บางพวกโอวาทพร่ำสอน  ๔๐ รูป
บ้าง   ฝ่ายภิกษุนวกะเหล่านั้น     อันภิกษุผู้เถระโอวาทพร่ำสอนอยู่      ย่อมรู้ชัด
ธรรมวิเศษอย่างกว้างขวางยิ่งกว่าตนรู้มาก่อน.
[๒๘๓]  ก็สมัยนั้นแล     พระผู้มีพระภาคเจ้ามีภิกษุสงฆ์ห้อมล้อม
ประทับนั่งกลางแจ้ง     ในราตรีมีจันทร์เพ็ญ    วันนั้นเป็นวันอุโบสถ์ ๑๕ ค่ำ
ทั้งเป็นวันปวารณาด้วย. ขณะนั้น  พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเหลียวดูภิกษุสงฆ์
ซึ่งนิ่งเงียบอยู่โดยลำดับ    จึงตรัสบอกภิกษุทั้งหลายว่า     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราปรารภในปฏิปทานี้    เรามีจิตยินดีในปฏิปทานี้     เพราะฉะนั้นแล    ภิกษุ
ทั้งหลาย  เธอทั้งหลายจงปรารภความเพียร  เพื่อถึงคุณที่ตนยังไม่ถึง เพื่อบรรลุ
คุณที่ตนยังไม่บรรลุ  เพื่อทำให้แจ้งคุณที่ตนยังไม่ทำให้แจ้งยิ่งกว่าประมาณเถิด

เจริญอานาปานสติแล้วธรรมทั้ง ๔ จะบริบูรณ์

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  อานาปานสติ    ที่ภิกษุเจริญแล้ว   ทำให้มาก
แล้ว   ย่อมมีผลมากมีอานิสงส์มาก   ภิกษุทั้งหลาย  อานาปานสติที่เจริญแล้ว
ทำให้มากแล้ว จะให้สติปัฏฐาน  ๔  บริบูรณ์ได้.  สติปัฏฐาน ์๔ ที่เจริญแล้ว
ทำให้มากแล้ว   จะให้โพชฌงค์  ๗   บริบูรณ์ได้.    โพชฌงค์ ๗ ที่เจริญแล้ว
ทำให้มากแล้ว  จะให้วิชชาและวิมุตติ  บริบูรณ์ได้.



วิธีเจริญอานาปานสติที่มีผลานิสงส์มาก

[๒๘๘]  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย    ก็อานาปานสติ    ที่ภิกษุเจริญแล้ว
อย่างไร   ทำให้มากแล้วอย่างไร   จึงมีผลมากมีอานิสงส์มาก ?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ภิกษุไม่ธรรมวินัยนี้  อยู่ในป่าก็ดี  อยู่ที่โคนไม้
ก็ดี  อยู่ในเรือนร้างก็ดี   นั่งคู้บัลลังก์    ตั้งกายตรง    ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้า.
เธอย่อมมีสติหายใจออก    มีสติหายใจเข้า.      เมื่อหายใจออกยาว    ก็รู้ชัดว่า
หายใจออกยาว   หรือเมื่อหายใจเข้ายาว    ก็รู้ชัดว่าหายใจเข้ายาว.    เมื่อหายใจ
ออกสั้น    ก็รู้ชัดว่า  หายใจออกสั้น    หรือเมื่อหายใจเข้าสั้น    ก็รู้ชัดว่า  หายใจ
เข้าสั้น.      สำเหนียกอยู่ว่า   เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง    หายใจ
ออก ว่า  เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง  หายใจเข้า.    สำเหนียกอยู่
ว่า    เราจักระงับกายสังขาร  หายใจออก  ว่า    เราจักระงับกายสังขาร
หายใจเข้า.    สำเหนียกอยู่ว่า  เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ   หายใจออก  ว่า  เรา
จักเป็นผู้กำหนดรู้ปีติ  หายใจเข้า.      สำเหนียกอยู่ว่า  เราจักเป็นผู้กำหนด
รู้สุข  หายใจออก  ว่า  เราจักเป็นผู้กำหนดรู้สุข    หายใจเข้า.     สำเหนียก
อยู่  ว่า  เราจักเป็นผู้กำหนดรู้จิตตสังขาร   หายใจออก   ว่า  เราจักเป็นผู้
กำหนดรู้จิตตสังขาร หายใจเข้า.  สำเหนียกอยู่ว่า เราจักระงับจิตตสังขาร
หายใจออก  ว่า  เราจักระงับจิตตสังขาร   หายใจเข้า.   สำเหนียกอยู่  ว่า  เรา
จักเป็นผู้กำหนดรู้จิต  หายใจออก  ว่า  เราจักเป็น ผู้กำหนดรู้จิต  หายใจ
เข้า.     สำเหนียกอยู่ว่า    เราจักทำจิตให้ร่าเริง    หายใจออก   ว่า    เราจัก
ทำจิตให้ร่าเริง  หายใจเข้า.     สำเหนียกอยู่ว่า    เราจักตั้งจิตมั่น  หายใจ
ออก  ว่า  เราจักตั้งจิตมั่น  หายใจเข้า.   สำเหนียกอยู่  ว่า  เราจักเปลื้องจิต
หายใจออก    ว่า    เราจักเปลื้องจิต    หายใจเข้า.    สำเหนียกอยู่ ว่า   เราจัก
เป็นผู้ตามพิจารณาความไม่เที่ยง   หายใจออก  ว่า    เราจักเป็นผู้ตาม
พิจารณาความไม่เที่ยง    หายใจเข้า.     สำเหนียกอยู่  ว่า    เราจักเป็นผู้ตาม
พิจารณาความคลายกำหนัด   หายใจออก  ว่า   เราจักเป็นผู้ตามพิจารณา
ความคลายกำหนัด  หายใจเข้า.     สำเหนียกอยู่  ว่า    เราจักเป็นผู้ตาม
พิจารณาความดับกิเลส  หายใจออก  ว่า  เราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความ
ดับกิเลส  หายใจเข้า.     สำเหนียกอยู่ว่า    เราจักเป็นผู้ตามพิจารณา
สละคืนกิเลส  หายใจออก ว่า    เราจักเป็นผู้ตามพิจารณาความสละคืน
กิเลส  หายใจเข้า.     ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานาปานสติ   ภิกษุเจริญแล้ว
อย่างนี้  ทำให้มากแล้วอย่างนี้แล   จึงมีผลมากมีอานิสงส์มาก.

ผู้ไม่เจริญกายคตาสติมารจะได้ช่อง

ผู้ไม่เจริญกายคตาสติมารจะได้ช่อง

[๓๐๘]  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ภิกษุไรๆ ก็ตาม  ไม่เจริญ   ไม่ทำให้
มากซึ่งกายคตาสติแล้ว   มารย่อมได้ช่อง   ย่อมได้อารมณ์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย     เปรียบเหมือนบุรุษเหวี่ยงก้อนศิลาหนักไปที่
กองดินเหนียวที่เปียก    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย    พวกเธอจะสำคัญความนั้นเป็น
ไฉน  ?   ก้อนศิลาหนักนั้น     จะพึงได้ช่องในกองดินเปียก    (เจาะให้เป็นรู )
บ้างไหม ?

ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า  ได้  พระพุทธเจ้าข้า.
พ.    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย  ฉันนั้นเหมือนกันแล  ภิกษุไรๆ ก็ตามไม่
เจริญ    ไม่ทำให้มากซึ่งกายคตาสติแล้ว  มารย่อมได้ช่อง   ย่อมได้อารมณ์
[๓๐๙]  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย      เปรียบเหมือนไม้แห้งเกราะ     จึงมี
บุรุษมาถือเอาเป็นไม้สีไฟด้วยตั้งใจว่า จักติดไฟ จักก่อไฟ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
พวกเธอจะสำคัญความข้อนี้เป็นไฉน ?  บุรุษนั้นถือเอาไม้แห้งเกราะโน้นเป็น
ไม้สีไฟแล้วสีกันไป  จะพึงติดไฟ  จะพึงก่อไฟ    ได้บ้างไหม ?

ภิ.  ได้  พระพุทธเจ้าข้า.
พ.  ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ภิกษุไรๆ  ก็ตามไม่
เจริญ  ไม่ทำให้มากซึ่งกายคตาสติแล้ว    มารย่อมได้ช่อง  ย่อมได้อารมณ์