Friday, July 26, 2013

มหาปทานสูตร ,ว่าด้วยพระพุทธเจ้าที่มาตรัสรู้ ธรรมในพระพุทธศาสนา

26 กรกฎาคม 2013 เวลา 4:48 น.
                                                                     

พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอปรารถนาหรือไม่ ที่จะฟังธรรมีกถาซึ่งเกี่ยวด้วยบุพเพนิวาส

ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มี- พระภาค เป็นการสมควรแล้วที่พระผู้มีพระภาคจะพึงทรงกระทำธรรมีกถาซึ่งเกี่ยว ด้วยบุพเพนิวาส ข้าแต่พระสุคต เป็นการสมควรแล้วที่พระผู้มีพระภาคจะพึงทรง กระทำธรรมีกถาซึ่งเกี่ยวด้วยบุพเพนิวาส ภิกษุทั้งหลายได้ฟังพระดำรัสของพระผู้มี- *พระภาคแล้ว จักได้ทรงจำไว้

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้า อย่างนั้นพวกเธอจงฟัง จงใส่ใจให้ดีเถิด เราจักกล่าว

ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ พระผู้มีพระภาคแล้ว

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพุทธพจน์นี้ว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นับแต่นี้ไป ๙๑ กัป
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า # พระนามว่าวิปัสสี ได้เสด็จอุบัติขึ้นในโลก

นับแต่นี้ไป ๓๑ กัป พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมา- *สัมพุทธเจ้า # พระนามว่าสิขี ได้เสด็จอุบัติขึ้นในโลก

ในกัปที่ ๓๑ นั่นเอง พระผู้มี- *พระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า # พระนามว่า เวสสภู ได้เสด็จอุบัติขึ้นในโลก


# ดูกรภิกษุทั้งหลาย # ในภัททกัปนี้แหละ ......

พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า # พระนามว่ากกุสันธะ ได้เสด็จอุบัติขึ้นในโลก

ในภัททกัปนี้แหละ พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า # พระนามว่าโกนาคมนะ ได้เสด็จอุบัติขึ้นในโลก

ใน ภัททกัปนี้แหละ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า # พระนามว่ากัสสปะ ได้เสด็จอุบัติขึ้นในโลก

ในภัททกัปนี้แหละ # เราผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ในบัดนี้อุบัติขึ้นแล้วในโลก ฯ

 ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าวิปัสสี ได้เป็นกษัตริย์โดยพระชาติ ทรงอุบัติในขัตติยสกุล

พระผู้มี- *พระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าสิขี ได้เป็นกษัตริย์โดยพระชาติ ทรงอุบัติในขัตติยสกุล

พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าเวสสภู ได้เป็นกษัตริย์โดยพระชาติ ทรงอุบัติในขัตติยสกุล

พระผู้มีพระภาคอรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่ากกุสันธะ ได้เป็นพราหมณ์โดยพระชาติ ทรงอุบัติ ในพราหมณสกุล

พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าโกนาคมนะ ได้เป็นพราหมณ์โดยพระชาติ ทรงอุบัติในพราหมณสกุล

พระผู้มีพระภาคอรหันต- *สัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่ากัสสปะ ได้เป็นพราหมณ์โดยพระชาติ ทรงอุบัติ ในพราหมณสกุล

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในบัดนี้ ได้เป็น กษัตริย์โดยชาติ อุบัติในขัตติยสกุล ฯ             

ดูกรภิกษุทั้งหลาย

พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าวิปัสสี เป็นโกณฑัญญโคตร
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าสิขี เป็นโกณฑัญญโคตร
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าเวสสภู เป็นโกณฑัญญโคตร
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่ากกุสันธะ เป็นกัสสปโคตร
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าโกนาคมนะ เป็นกัสสปโคตร
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่ากัสสปะ เป็นกัสสปโคตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราผู้อรหันตสัมมา- *สัมพุทธเจ้าในบัดนี้ เป็นโคตมโคตร ฯ

ว่าด้วย พุทธคุณ

                                                 



พระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เอง
โดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึกไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จำแนกพระธรรม พระองค์ทรงทำโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตามทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถพร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง ก็การเห็นพระอรหันต์ทั้งหลาย เห็นปานนั้น ย่อมเป็นการดีแล ดังนี้

Thursday, July 25, 2013

มรรคมีองค์แปด

25 กรกฎาคม 2013 เวลา 6:48 น.
มรรค (ภาษาสันสกฤต : มรฺค; ภาษาบาลี : มคฺค) คือ หนทางถึงความดับทุกข์ เป็นส่วนหนึ่งของอริยสัจ (เรียกว่า มัคคสัจจ์ หรือ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ)หรือการลงมือปฏิบัติเพื่อให้พ้นจากทุกข์ และนับเป็นหลักธรรมสำคัญอย่างหนึ่งในพระพุทธศาสนา ประกอบด้วยกรอบการปฏิบัติ 8 ประการด้วยกัน เรียกว่า "มรรคมีองค์แปด" หรือ "มรรคแปด" (อัฏฐังคิกมรรค) โดยมีรายละเอียดดังนี้
  1. สัมมาทิฏฐิ คือ ปัญญาเห็นชอบ หมายถึง การปฏิบัติอย่างเหมาะสมตามความเป็นจริงด้วยปัญญา
  2. สัมมาสังกัปปะ คือ ดำริชอบ หมายถึง การใช้สมองความคิดพิจารณาแต่ในทางกุศลหรือความดีงาม
  3. สัมมาวาจา คือ เจรจาชอบ หมายถึง การพูดต้องสุภาพ พูดในสิ่งที่สร้างสรรค์ดีงาม
  4. สัมมากัมมันตะ คือ การประพฤติดีงาม ทางกายหรือกิจกรรมทางกายทั้งปวง
  5. สัมมาอาชีวะ คือ การทำมาหากินอย่างสุจริตชน ไม่คดโกง เอาเปรียบผู้อื่น
  6. สัมมาวายามะ คือ ความอุตสาหะพยายาม ประกอบความเพียรในการกุศลกรรม
  7. สัมมาสติ คือ การไม่ปล่อยให้เกิดความพลั้งเผลอ จิตเลื่อนลอย ดำรงอยู่ด้วยความรู้ตัวอยู่เป็นปกติ
  8. สัมมาสมาธิ คือ การฝึกจิตให้ตั้งมั่น สงบ สงัด จากกิเลส นิวรณ์อยู่เป็นปกติ

นิโรธ

25 กรกฎาคม 2013 เวลา 6:43 น.
นิโรธ (อ่านว่า นิโรด) แปลว่า ความดับ (ทุกข์) คือความสำรอกออก, สลัดทิ้ง, ปลดปล่อย, ไม่มีเยื่อใยสมุทัยอันเป็นบ่อเกิดทุกข์ได้สิ้นเชิง หมายถึง การทำลายสมุทัยและดับสมุทัยคือตัวตัณหาให้สิ้นไปจนไม่เกิดขึ้นได้อีกเหมือนไฟที่สิ้นเชื้อ ด้วยอำนาจการดำเนินตามมรรคจนได้บรรลุมรรคนั้นๆ
นิโรธ จัดเป็นอริยสัจอันดับที่ 3 ในอริยสัจ 4 คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค นิโรธ โดยภาวะคือนิพพานนั่นเอง

นิโรธ 5
นิโรธ 5 หมายถึง ความดับกิเลส ภาวะไร้กิเลสและไม่มีทุกข์เกิดขึ้นนิโรธเป็นธรรมะที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้นิโรธ มี 5 ประการ โดยมีชื่อเรียกอย่างอื่นอีก เช่น
  • ปหาน 5 (การละกิเลส 5 ประการ)
  • วิมุตติ 5 (ความหลุดพ้น 5 ประการ)
  • วิเวก 5 (ความสงัด ความปลีกออก 5 ประการ)
  • วิราคะ 5 (ความคลายกำหนัด ความสำรอกได้ 5 ประการ)
  • โวสสัคคะ 5 (ความสละ ความปล่อย 5 ประการ)
นิโรธ 5 ได้แก่
  1. วิกขัมภนนิโรธ ดับด้วยข่มไว้ คือ การดับกิเลสของท่านผู้บำเพ็ญฌาน ถึงปฐมฌานขึ้นไป ย่อมข่มนิวรณ์ไว้ได้ ตลอดเวลาที่อยู่ในฌานนั้น
  2. ตทังคนิโรธ ดับด้วยองค์นั้นๆ คือ ดับกิเลสด้วยธรรมที่เป็นคู่ปรับ หรือธรรมที่ตรงข้าม เช่น ดับสักกายทิฏฐิด้วยความรู้ที่กำหนดแยกรูปนามออกได้ เป็นการดับชั่วคราวในกรณีนั้นๆ
  3. สมุจเฉทนิโรธ ดับด้วยตัดขาด คือ ดับกิเลสเสร็จสิ้นเด็ดขาด ด้วยโลกุตตรมรรค ในขณะแห่งมรรคนั้น ชื่อ สมุจเฉทนิโรธ
  4. ปฏิปัสสัทธินิโรธ ดับด้วยสงบระงับ คือ อาศัยโลกุตตรมรรค ดับกิเลสเด็ดขาดไปแล้ว บรรลุโลกุตตรผล กิเลสเป็นอันสงบระงับไปหมดแล้ว ไม่ต้องขวนขวายเพื่อดับอีก ในขณะแห่งผลนั้น ชื่อ ปฏิปัสสัทธินิโรธ
  5. นิสสรณนิโรธ ดับด้วยสลัดออกได้ หรือดับด้วยปลอดโปร่งไป คือ ดับกิเลสเสร็จสิ้นแล้ว ดำรงอยู่ในภาวะที่ดับกิเลสแล้วนั้น ยั่งยืนตลอดไป ภาวะนั้นชื่อนิสสรณนิโรธ ได้แก่อมตธาตุ คือ นิพพาน

ทุกข์ในอริยสัจ

กิจในอริยสัจ ๔

25 กรกฎาคม 2013 เวลา 6:23 น.
กิจในอริยสัจ คือสิ่งที่ต้องทำต่ออริยสัจ 4 แต่ละข้อ ได้แก่
  1. ปริญญา - ทุกข์ ควรรู้ คือการทำความเข้าใจปัญหาหรือสภาวะที่เป็นทุกข์อย่างตรงไปตรงมาตามความเป็นจริง เป็นการเผชิญหน้ากับปัญหา
  2. ปหานะ - สมุทัย ควรละ คือการกำจัดสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ เป็นการแก้ปัญหาที่เหตุต้นตอ
  3. สัจฉิกิริยา - นิโรธ ควรทำให้แจ้ง คือการเข้าถึงภาวะดับทุกข์ หมายถึงภาวะที่ไร้ปัญหาซึ่งเป็นจุดมุ่งหมาย
  4. ภาวนา - มรรค ควรเจริญ คือการฝึกอบรมปฏิบัติตามทางเพื่อให้ถึงความดับแห่งทุกข์ หมายถึงวิธีการหรือทางที่จะนำไปสู่จุดหมายที่ไร้ปัญหา
กิจทั้งสี่นี้จะต้องปฏิบัติให้ตรงกับมรรคแต่ละข้อให้ถูกต้อง การรู้จักกิจในอริยสัจนี้เรียกว่ากิจญาณ
กิจญาณเป็นส่วนหนึ่งของญาณ 3 หรือญาณทัสสนะ (สัจญาณ, กิจญาณ, กตญาณ) ซึ่งหมายถึงการหยั่งรู้ครบสามรอบ ญาณทั้งสามเมื่อเข้าคู่กับกิจในอริยสัจทั้งสี่จึงได้เป็นญาณทัสนะมีอาการ 12 ดังนี้
  1. สัจญาณ หยั่งรู้ความจริงสี่ประการว่า
    1. นี่คือทุกข์
    2. นี่คือเหตุแห่งทุกข์
    3. นี่คือความดับทุกข์
    4. นี่คือทางแห่งความดับทุกข์
  2. กิจญาณ หยั่งรู้หน้าที่ต่ออริยสัจว่า
    1. ทุกข์ควรรู้
    2. เหตุแห่งทุกข์ควรละ
    3. ความดับทุกข์ควรทำให้ประจักษ์แจ้ง
    4. ทางแห่งความดับทุกข์ควรฝึกหัดให้เจริญขึ้น
  3. กตญาณ หยั่งรู้ว่าได้ทำกิจที่ควรทำได้เสร็จสิ้นแล้ว
    1. ทุกข์ได้กำหนดรู้แล้ว
    2. เหตุแห่งทุกข์ได้ละแล้ว
    3. ความดับทุกข์ได้ประจักษ์แจ้งแล้ว
    4. ทางแห่งความดับทุกข์ได้ปฏิบัติแล้ว

สมุทัย

25 กรกฎาคม 2013 เวลา 6:04 น.
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขอริยสัจ คือ ความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่ ก็เป็นทุกข์ ความเจ็บไข้ก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ ความประจวบด้วยสิ่งที่ไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่นย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์"
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขสมุทัยอริยสัจ คือตัณหาอันทำให้เกิดอีก ประกอบด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลิน มีปกติเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ คือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขนิโรธอริยสัจ คือ ตัณหานั่นแลดับ โดยไม่เหลือ ด้วยมรรคคือวิราคะ สละ สละคืน ปล่อยไป ไม่พัวพัน"
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แลเป็นทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แหละ คือ ปัญญาเห็นชอบ ๑ ... ตั้งจิตชอบ ๑...."
จาก พระไตรปิฎก ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ปฐมเทศนา

สมุทัยคือเหตุให้เกิดทุกข์ ทุกสิ่งทุกอย่างมันมีเหตุผลทั้งนั้น เหตุของทุกข์คือตัวสมุทัย เช่น เราต้องการ อยากได้ อยากดี อยากเป็น แล้วขวนขวายหาก็ต้องเดือดร้อนเป็นทุกข์ ได้บ้างไม่ได้บ้าง ถูกใจบ้างไม่ถูกใจบ้าง เศร้าโศกเสียใจเดือดร้อนวุ่นวาย เรียกว่า มันประสบเหตุให้เกิดทุกข์ คือความอยาก พระองค์เรียกว่าตัณหาสามคือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ไม่นอกเหนือไปจากตัณหาสามประการนี้

1. กามตัณหา คือ ความอยากได้ คนเกิดขึ้นมาด้วยกาม กินอยู่ด้วยกาม นอนอยู่ในกาม นั่งอยู่ในกาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ไม่หนีไปจากห้าอย่างนี้ ผู้ใดเกิดมาต้องวุ่นวายอยู่กับของเหล่านี้แหละ เดือดร้อนอยู่กับของเหล่านี้ คือมันข้องมันติด ไปไม่หลุด ไปไม่พ้น

2. ภวตัณหา คือความอยากเป็น อยากได้โน่นอยากได้นี่ ได้แล้วก็อยากได้อีก เป็นแล้วก็อยากเป็นอีก ไม่อิ่มไม่พอเป็นสักที นี่ก็เป็นทุกข์ เพราะความไม่อิ่มไม่พอ เรียกว่า ภวตัณหา พระองค์ได้ละแล้ว

3. วิภวตัณหา คือความไม่อยากเป็น ไม่อยากได้โน่นไม่อยากได้นี่ ก็เป็นทุกข์เหมือนกัน เพราะความไม่อยาก จึงเป็นเหตุให้เดือดร้อนเป็นทุกข์เรียกว่า วิภวตัณหา
ขันธวิบากทุกข์ซึ่งยังมีร่างกายอันนี้อยู่จึงจำเป็นจะต้องเสวยทุกข์อยู่ด้วยกันทุกรูปทุกนาม
สมุทัยเป็นของควรละ อย่างความอยาก เราอยากได้โน่น อยากได้นี่ เราไม่เอาละ สละทิ้งเลย ปล่อยวางเลย สละได้จริงๆ นั่นแหละสมุทัยคือ ตัณหา